แม่บทการบัญชี

ความหมาย             แม่บทการบัญชี (Accounting Framework) หรือแม่บทการบัญชีสำหรับการจัดทำและนำเสนองบการเงิน(Framework for thePreparation and Preparation and Presentation of Financial Statemant)ไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานการบัญชีแต่เป็นกรอบหรือแนวคิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินตลอดจนการกำหนดและนำเสนองบการเงินตลอดจนการกำหนดและนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติซึ่งผู้จัดทำและผู้ใช้งบการเงินจำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาในแม่บทการบัญชีก่อนที่จะสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเฉพาะเรื่องได้อย่างถูกต้องวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี แม่บทการบัญชีกำหนดขึ้นเพื่อว่างแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินที่เป็นบุคลภายนอกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1. เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีในพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคตและในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบัน2. เป็นแนวทางสำหรับคระกรรมการมาตรฐานการบัญชีในการปรับข้อกำหนดมาตรฐานและการปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องกันโดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการลดจำนวนทางเลือกของวิธีการจดบันทึกบัญชีที่เคยอนุญาติให้ใช้3. เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติรวมทั้งเป็นแนวทางในการฟฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานของการบัญชีรองรับ4. เป็นแนวทางสำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่5. ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงในงบการเงินซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี6. ให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูลผู้ใช้งบการเงินสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะวัตถุประสงค์ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ประเภทเพื่อสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ลงทุนผู้เป็นเจ้าของเงินทุนรวมทังที่ปรึกษาซึ่งต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนผู้ลงทุนต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ ขายหรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไปนอกจากนั้นผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นยังต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลด้วย2. ลูกจ้างลูกจ้างและกลุ่มตัวแทนซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรของนายจ้างเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทนบำเหน็จบำนาจรางวัลประโยชน์อื่นๆและโอกาสในการจ้างงาน3. ผู้ให้กู้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อใช้ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยมองว่าเงินที่ให้กู้ยืมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจะได้ชำระเมื่อครบกำหนดหรือไม่4. ผู้ขายสินค้าบริการและเจ้าหนี้อื่นผู้ซึ่งต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจว่าหนี้สินจะได้รับชำระเมื่อครบกำหนดเจ้าหนี้การค้าอาจให้ความสนใจข้อมูลของกิจการในระยะเวลาที่สั้นกว่าผู้ให้กู้นอกจากว่าการดำเนินงานของเจ้าหนี้นั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่5. ลูกค้าผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการโดยเฉพาะกรณีที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานหรือต้องพึ่งพากิจการนั้น6. รัฐบาลและหน่วยงานราชการต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการของกิจการในการจัดสรรพทรัพยากรการกำกับดูแลการพิจาณากำหนดนโยบายทาง๓ษีการจัดเก็บภาษีเงินได้และเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติและจัดทำสถิติในด้านต่างๆ7. สาธารณชนประชาชนทั่วไปซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จและการดำเนินงานของกิจการเนื่องจากกิจการอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณชนในการจ้างงานและการรับซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากผู้ผลิตในท้องถิ่นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำและนำเสนองบการเงินของกิจการคือ ฝ่ายบริหารของกิจการดังนั้นฝ่ายบริหารของกิจการต้องให้ความสนใจต่อข้อมูลที่แสดงไว้ในงบการเงินแม้บทการบัญชีจึงจะเกี่ยวข้องกับงบการเงินและงบการเงินรวมที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์โดยทั่วไปซึ่งจะจัดทำนำเสนออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อนำข้อมูลให้กับผู้ใช้งบการเงินทุกประเภทด้วยงบดุลงบกำไรขากทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จงบการเงินอาจรวมข้อมูลหรือรายละเอียดประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งานงบการเงินเข้าใจงบการเงินมากขึ้น ขอบเขตของแม่บทการบัญชี1. วัตถุประสงค์ของงบการเงิน2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินที่กำหนดว่าข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์3. คำนิยามการรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน4. แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

ลักษณะคุณภาพของงบการเงิน

 1.ความเข้าใจได้หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจได้ทันที                  2.ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจขึ้นอยู่กับลักษณะและความมีนัยสำคัญของข้อมูลกล่าวคือข้อมูลในงบการเงินต้องมีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินโดยข้อมูลนั้นต้องช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีตปัจจุบันและอนาคตได้รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาได้เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและโครงสร้างของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่ในปัจจุบันจะช่วยให้ผุ้ใช้งบการเงินสามารถควาดคะเนถึงความสามารถของกิจการในการรับประโยชน์จากโอกาศใหม่ๆรวมทั้งช่วยยืนยันความถูกต้องของการคาดคะเนในอดีตที่เกี่ยวกับโครงสร้างของกิจการและผลการนำเนินงานตามที่ว่างแผนไว้หรือข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอดีตของกิจการสามารถใช้ในการคาดคะเนถึงฐานะการเงินการดำเนินงานในอนาคตเป็นต้น                  3.ความเชื่อถือได้หมายถึง ข้อมูลในงบการเงินต้องเป็นข้อมูลที่มีความเชื่อถือได้โดยปราศจากความผิดพลาดที่มีสาระสำคัญเป็นข้อมูลที่มีความเที่ยงธรรมมีความเป็นกลางโดยปราศจากความลำเอียงและมีความครบถ้วนสมบูรณ์ในสาระสำคัญที่จะไม่ทำให้ผุ้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดและตัดสินใจผิดพลาดความเชื่อถือได้ของงบการเงินประกอบด้วย                               3.1การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมหมายถึงรายการและเหตุผลทางบัญชีได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมในงบการเงินตามที่ควรแสดงนั้นคือ งบดุลควรแสดงสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของเฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณการรับรู้ณ วันที่เสนอรายงาน                            3.2เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบหมายถึงข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิไช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว   … Read more

สถาบันทางวิชาชีพที่มีบทบาทต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชี

  การพัฒนาข้อมูลทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจนั้นนอกจากจะได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของธุรกิจและเทคนิคในการประยุกต์ใช้บริการแต่ละองค์การแล้วยังมีสถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาชีพอีกส่วนหนึ่งที่มีหน้าที่และบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชีในเชิงวิชาการเพื่อให้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเชื่อถือได้และช่วยให้บริการสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้อย่างแห้จริงสถาบันทาววิชาชีพที่ควรรู้ก็คือ              1.สมาคมนักบัญชีนานาชาติ (National Association of Accountants) หรือที่ใช้ตัวย่อยว่า “NAA” สมาคมแห้งนี้ได้ถูกก่อตั้งในปี8.L. 1919 (พ.ศ. 2462)โดยในระยะแรกได้ใช้ชื่อว่า“สมคมนักบัญชีต้นทุนนานาชาติ” (National Association of Cost Accountants) จึงทำให้สถาบันแห้งนี้มีบทบาทต่อการพัฒนาข้อมูลทางบัญชีต้นทุนและบัญชีเพื่อการจัดการตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบันในการดำเนินงานของสมมาคมได้มีการจัดทำวารสารที่มีชื่อเสียงทางด้านบัญชีต้นทุนและบัญชีเพื่อการจัดการโดยใช้ชื่อว่า “Management Accounting” ซึ่งจะเสนอบทความที่เขียนโดยสมาชิกของ NAA ที่มีประสบการณ์ในหน่วยงานธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกานอกจากนี้ยังจัดให้มีการเสนอโครงการวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการทางบัญชีต้นทุนและการวิเคราะห์ทางบัญชีเพื่อการจัดการให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนโดยให้เป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่มีชื่อว่า “NAA Research Studies” ในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) NAA ได้ทำการก่อตั้ง “สถาบันทางบัญชีเพื่อการขัดการ (Institute of Management Accounting)ใช้ชื่อย่อ “IMA” ให้รับผิดชอบโดยตรงต่อการพัฒนาการบัญชีต้นทุนและบัญชีเพื่อการจัดการโดยให้มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่นักบัญชีบริหารที่ผ่านการทดสอบเช่นเดียวกับผุ้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ของสถาบัน AICPA ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบทางบัญชีเพื่อการจัดการนี้จะเรียกว่า “Certificate in Management Accounting (CMA)”               2.สถาบันผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งอเมริกา(American Insitute Of Certified Public Accountants) โดยมีชื่อย่อว่า “AICPA” เป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนาหลักการบัญชีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (GAAP) โดยสถาบันจะเป็นผู้ที่ทำการทดสอบเพื่อการออกบัญชีรับอนุญาต (CPA) นอกจากนี้ผลงานอีกอันหนึ่งที่มีชื่อเสียงของ CICPA ก็คือการออกวารสารรายเดือนที่ชื่อว่า“journal of Accountancy” ถึงแม้ว่าวารสารนี้จะเน้นหนักไปทางด้านหลักการบัญชีทั่วไป 3.สมาคมการบัญชีแห่งอเมริกา(American Accounting Association)โดยใช้ชื่อย่อว่า “AAA” เป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นโดยบรรดาคณาจารย์ทางการบัญชีจากมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1916 (พ.ศ. 2459) … Read more

วัตถุประสงค์ของการบัญชี

 วัตถุประสงค์พื้นฐานของการบัญชีคือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเงินเพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจโดยเริ่มจากกระบวนการทาง  บัญชี ในการเก็บรวบรวมและจดบันมึกรายการค้าตามลำดับก่อนหลังและนำมาจัดประเภทรายการต่างๆจากนั้นจึงนำมาสรุปเป็นรายงานและงบ  การเงินเพื่อวักผลและรายงานผลการดำเนินงานฐานะการเงินของกิจการให้แก่ผู้สนใจทุกฝ่ายทราบโดยนักบัญชีใช้รายงานผลดำเนินงานของกิจการในรูปแบบเงินตราเพื่อที่จะสามารถรายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจได้ดีและเชื่อว่าการบัญชีจะให้รายงานอันเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่มีส่วนได้เสียโดยตรงในการบริหารงาน                       ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กลุ่มผู้ใช้ภายใน เช่น CEO กรรการ ผู้จัดการผู้อำนวยการและผู้บริหารอื่นๆเพื่อผู้บริหารจะใช้ข้อมูลทาง การบัญชี ในการตัดสินใจและข้อมูลทางการเงินเพื่อบอกสถาณะทางการเงินกับหน่วยงานอย่างเช่นรายงานต้นทุนสินค้างบประมาณรายรับ-รายจ่ายงบการเงินประจำเดือนซึ่งงบประมาณเหล่านี้มีส่วนในการวางแผนและแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วยและยังมีการเสนอรายงานทาง การเงิน แก่บุลคลภายนอกอีกอย่างเช่นผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ หรือว่าหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ที่ต้องนำเสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจในกิจการต่างๆอย่างเช่นภาษีการอนุมัติวงเงินในแก่กิจการ

ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี

ปกติแล้วบัญชีนี้มีประโยชน์มาตั้งแต่สมัยที่มีการค้าขายแล้วแต่ว่าเนื่องจากอาจจะไม่มีระบบที่ถูกกต้องเท่าบรรจุบันไม่ว่าเราจะค้าขายเป็นร้านเล็กๆก็ต้อมีการบันทึกหรืออาจจะใช้วิธีการจดจำเอาว่าวันนี้ขายไปเท่าไหร่ซื้ออะไรไปบ้างแล้วมาคำนวณต้นทุนว่ากำไรหรือว่าขาดทุนต่อมาได้มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นคงไม่สามารถที่จะทำแบบเดิมได้จึงต้องมีระบบบัญชีที่ดีเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบความชัดเจนต่างๆซึ่งเป็นการรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย การบัญชีเป็นการจัดระบบข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวัดผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนต่างๆ ทางเศรษฐกิจ มีการจัดหมวดหมู่รายการมีการสรุปผลและตีความหมายของผลดังกล่าวดังนั้นการบัญชีจึงเป็นภาษาธุรกิจผู้ใช้งานข้อมูลนั้นจึงต้องพอรู้เกี่ยวกับภาษาทางด้านบัญชีอยู่บ้างจึงจะเข้าใจและใช้ในการบริหารงานได้ดีและการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ การบัญชีนั้นมีการพัฒนาอยู่ตลอดอย่างต่อเนื่องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันดังนั้นแล้วนักบัญชีจึงควรปรับตัวและศึกษาข้อมูลข่าวสารใหม่อยู่ตลอดเวลาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในทันสมัยต่อสภาพเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีต่างๆกระบวนการของบัญชีคือการเลือกเหตุการณ์และทำการจดบันทึกบัญชีเป็นระบบที่เป็นการเงินนักบัญชีจึงต้องทำการจดเป็นข้อมูลด้านการเงินเรียงลำดับเวลาตามวันที่ของเหตุการณ์ที่เกิดอย่างเป็นระบบแล้วทำการตีความหมายแล้วสรุปผลหลังจากนั้นเราก็จะได้งบการเงินมารายงานผลซึ่งงบการเงินนั้นเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารนั้นเองไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงินการตลาดและการตัดสินการลงทุน เจ้าของกิจการหรือว่าผู้ดำเนินการธุรกิจต่างๆอาจจะไม่มีความรู้ด้านการบัญชีนักบัญชีจึงได้เข้ามามีบทบาทในการรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจจึงแยกประโยชน์ของงบการเงินที่นักบัญชีได้ทำดังนี้ สำหรับประโยชน์ข้อมูลทางการบัญชีนั้นในมางธุรกิจถือว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นมากเพื่อเป็นการเสนอต่กผู้ที่เกียวข้องในรูปแบบของงบการเงินต่างๆซึ่งจะเป็นการวัดผลทางด้านการดำเนินทางกิจการซึ่งนักบัญชีจะต้องรวบรวมข้อมูลและทำการจดบันทึกรายการตามหมวดหมู่ต่างๆและทำการสรุปและตีความหมายเพราะฉะนั้นแล้วการดำเนินการของกิจการนั้นจะทำการจดบันทึกและรวบรวมเป็นงบการเงินเพื่อให้ได้ทราบผลประกอบการรวมไปถึงทัรพย์สินที่มีอยู่หนีสินต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยใช้งบการเงินเป็นเครื่องมือในการรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบงบการเงินเป็นรายงานที่สำคัญมากเพราะจะต้องรายงานให้เป็นตามความจริงสามารถที่จะตรวจสอบและเป็นที่เข้าใจสำหรับผู้ที่ต้องการซึ่งจำเป็นต้องใช้เพราะจะแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการไม่ว่ากิจการจะเป็นขนาดเล็กหรือว่าขนาดใหญ่จะเป็นทางภาครัฐเององค์กรทางด้านการเงินและองด์กรค์ไม่แสดงหาประโยชน์จำเป็นจะต้องได้รับรู้งบการเงินที่นักบีญชีได้รวบรวมมาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลไม่ว่าจะเป้นผู้บริหารเจ้าของผู้ถือหุ้นหาหน้าแผนกเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบุคลนั้นจะเป็นบุคคลลภายน้อหรือว่าภายในดังนั้นงบการเงินจึงมีส่วนวำคัญในการที่จะรายการงานให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบผลการดำเนินงานและฐานะทมางการเงินของกิจการนั้นๆจึงเป็นหน้าที่ของนักบัญชีที่จะได้รวบรวมโดยผู้ที่ต้องการประโยชน์ข้อมูลทางการบัญชีต้องมีการนำเสนอที่มีความถูกต้องชัดเจนสามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายเพราะว่าผู้บริหารหรือว่าผู้ที่ต้องการใช้นั้นไม่ได้มีความรู้ทางด้านบัญชีเสมอไปหรือไม่ได้ศึกษาทางด้านบัญชีเพราะว่าเจ้าของบริษัทอาจจะมีความรู้ในการประกอบอาชีพทางด้านอื่นแต่ต้องการข้อมูลทางด้านการบัญชีอย่างเช่นทนายความต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการเสียภาษีหรือในกรณีการฟ้องร้องเรื่องทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์การเรีกร้องทางแพ่งหารเร่งรัดหนี้สินเป็นต้นหรือว่าเจ้าของอจจะเปิดกิจการด้านการก่อสร้างเรียนวิศวะมาดังนั้นเขาจะนำข้อมูลทางด้านการบัญชีเพื่อประกอบการตันสินใจเรื่องการคงการซื้อเครื่องจักรการทำงาน หรือจัดทำงบประมาณในการเสนอราคากับลูกค้า เป็นต้นกิจการด้านการซ่อมรถยนต์เจ้าของกิจการมีความรู้ด้านเครื่องยนต์อาจจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านการบัญชีเพื่อใช้ในการประกอบกิจการจ้างพนังงานและการทำการตลาดด้วยดงั้นแล้วข้มูลทางด้านการบัญชีจึงมีความสำคัญสำหรับกิจการโดยพาะผู้บริหารของกิจการจึงมี การแบ่งแยกไว้หลายประเภทดังนี้– ผู้บริหารผู้บริหารนั้นดังที่กล่าวไปว่าจำเป็นจะต้องการข้อมูลทางด้านการบัญชีเพื่อประเมินวิเคราะห์การจัดการการลงทุนรวมไปถึงการควบคุมสินทรัพย์หรือว่าการส่งเริมในด้านการแรงงานให้มีประสิทธิภาพและเสียหายน้อยที่สุด– เจ้าหนี้เจ้าหนี้คือสถาบันการเงินต่างๆไม่ว่าจะเป็นธนคารกิจการให้สินเชื่อรวมไปถึงไฟแนนซ์ต่างๆสำหรับข้อมูลทางด้านการบัญชีมีส่วนสำคัญในด้านการออกเงินกู้วงเงินที่สามารถออกได้เพราะว่าเจ้าหนี้ต้องการทมราบฐานะทางการเงินของกิจการว่าสามารถที่จะชำระหนี้ได้มากน้อยเพียงใดหากปล่อยกู้ไปแล้วจะมีจะทำให้มีหนี้ศูนย์หรือไม่ดังนั้นข้อมูลทางการบัญชี เจ้าหนี้จึงจำเป็นที่จะต้องรับรู้เพื่อปล่อยสินเชื่อให้กับกิจการ– พนังงานหรือว่าลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างที่อยู่ในกิจการพนังงาน รวมไปถึงสหภาพแรงงานเพื่อสามารถที่จะรับทราบข้อมูลนำไปประกอบว่าสมควรที่จะได้รับในอัตตรานี้หรือไม่โบนัส สวัสดิการต่างๆที่มีความจำเป็นต่อพนังงานไปในทางที่เหมาะสมหรือไม่– หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นกรมสรรพากรในการจัดเก็ยภาษีการทรวงพานิชย์ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลของกิจการโดยรวมภายในประเทศเพื่อเป็นการวิเคราะห์สถาณการณ์ของผู้ประกอบการในด้านต่างๆเพื่อเป็นการติดตามการค้าโดยรวมภายในประเทศ– บุคคลทั่วไปหรือบุคคลภายนอกจะนำข้อมูลไปทำการศึกษาหรือว่าวิจัยในด้านต่างๆรวมไปถึงนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือผู้ที่สนใจในการลงทุนอนคตของกิจการการซื้อหุ้นการซื้อกิจการการควบรวมของกิจการรวมไปถึงประชาชนโดยทั่วไปนักวิชาการ เป็นต้น

ความหมายของการบัญชี

 คำจำกัดความของคำว่าการบัญชียังมีผู้รู้อีกมากได้ให้คำจำกัดไว้“AICPA” (The American Institute of Certified Public Accountants)ซึ่งเป็นสมคมนักบัญชีในสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า“การบัญชีเป็นศิลปของการเก็บรวบรวมจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเงินไว้ในรูปของเงินตรา(Monetary)จัดหมวดหมู่(Classification) ของรายการเหล่านั้นสรุปผล(Summraizaion)พร้อมทั้งตีความหมาย(Interpretation) ของรายการที่ได้จัดทำไว้” จากคำจำกัดความข้องต้นสรุปได้ว่าการบัญชีจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้1. การบันทึกที่เกิดขึ้นประจำวัน (Recording Daily Trasactions)ในการดำเนินธุรกิจนั้นต้องมีรายงานต่างๆ เกินขึ้นเป็นจำนวนมากการบัญชีจะเริ่มต้นเมื่อกิจการมีรายการทางธุรกิจเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและต้องเป็นรายงานที่เกิดขึ้นแล้วหรือมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนเหตุการณ์บางอย่างซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นรายการที่สมบูรณ์พอที่จะนำมาบันทึกได้ตัวอย่างซึ่งเป็นเพียงการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นไม่ถือว่าเป็นรายงานที่สมบูรณ์พอที่จำนำมาบันทึกได้ตัวอย่างรายการที่ถือเป็นรายการบัญชีเช่นรายการที่เกี่ยวกับการซื้อขายการรับจ่ายเงินการให้หรือรับบริการต่างๆมีตีค่าได้เป็นจำนวนเงิน ฯลฯรายการเหล่านั้นจะนำไปบันทึกไว้ในสมุดบัญชีซึ่งเรียกว่าสมุดรายวันขึ้นต้น (Journal) 2.การจัดหมวดหมู่ของรายการ(Classifying Recorded Data) เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้บันทึกรายการลงในสมุดรายวันขั้นต้นแล้วจะต้องจัดรายการบันทึกไว้ให้เป็นหมวด หมู่หรือแยกประเภทรายการชนิดเดียวกันให้รวมอยู่ในที่เดียวกันซึ่งทำได้โดยการผ่านรายการต่างๆจากสมุดรายวันขั้นต้นไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง (Ledgers) ตามหมู่นั้นๆ 3.การสรุปผลของข้อมูล(summarizing Recorded and Classified Data)รายการที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันขั้นต้นและผ่านไปบัญชีแยกประเภทเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งก็จะมีการสรุปผลของรายการเหล่านั้นแล้วตีความหมายเพื่อให้เห็นว่ามีผลธุรกิจอย่างไรระยะเวลาหนึ่งโดยปกติปกติมักจะเป็น 1 ปีและการสรุปผมมักจะแสดงให้เห็นรูปงบการเงิน (Financial Statement)ซึ่งได้แก่งบกำไรขาดทุน (Income Statement) และงบดุล (Balance Sheet)งบกำไรขาดทุนเป็นงบแสงผลการดำเนินงานของงวดหนึ่งๆ ส่วนงบดุลงบแสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง 4.การวิเคราะห์ข้อมูล(Interpreting the Summarized Facts)เป็นการนำข้อมูลที่ทำเป็นรายงานสรุปผลไว้แล้วมาวิเคราะห์ติดความโดยการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานกิจการอื่นที่ดำเนินธุรกิจคล้ายกันในรอบระยะเวลาเดียวกันเพื่อให้บริหารเข้าใจผลการดำเนินงานของกิจการและนำไปใช้ประโยชน์ในการง่าแผนการดำเนินงานในอนาคต ประโยชน์ของการบัญชี การบัญชีมีประโยชน์ต่อการให้มีคำตอบในลักษณะต่างๆกับบุคคลหลายๆฝ่ายเช่นฝ่ายบริหารอาจต้องการทราบว่ากิจการมีสินทรัพย์และหนี้สินอยู่เท่าใดอยู่ในรูปของสินทรัพย์อะไรบ้างหนี้สินอะไรบ้างมีกำไรขาดทุนเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาเจ้าหนี้ต้องการทราบถึงสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรว่าเป็นเช่นไรนักลงทุนต้องการทราบว่าควรจะลงทุนกิจการ A หรือ B ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นเช่นไรคำถามของบุคคลหลายฝ่ายนี้สามารถตอบได้โดยใช้ข้อมูลทางการบัญชี ข้อแตกต่างระหว่างการบัญชีและการทำบัญชี มีคนเป็นจำนวนมากสับสนระหว่างคำว่าการบัญชี (Accounting)และการทำบัญชี (Bookkeeping)หลายคนเข้าใจว่าทั้งสองคำนี้มีความหมายเหมือนกันแท้ที่จริงแล้วการทำบัญชีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชีการทำบัญชีหมายถึงการทำบันทึกทางการบัญชีเท่านั้นคือจดบันทึกและรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินต่างๆต่อไปได้บุคคลผู้บุคลผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวเรียกว่าผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) และผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชีเรียกว่านักบัญชี (Accounting) สุชาติเหล่าปรีดา. หลักการบัญชี 1 .กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563

ประเภทของกิจการธุรกิจ

  การที่จะศึกษาในเรื่องของบัญชีนั้นสามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้กับหน่วยงานต่างๆมากมายในระบบเศรษฐกิจแต่จะเน้นที่หน่วยงานธุรกิจ (Business Firm) ซึ่งมีทบทาบที่สำคัญเป็นอย่างมากในระบบเศรษฐกิจหน่วยงานธุรกิจคือหน่วยงานซึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการผลิตสินค้าและบริการโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือแสวงหากำไร การแบ่งประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ  1.แบ่งตามลักษณะการดำเนินงานหือกิจกรรมบ่งได้ 2 ลักษณะคือ 1.1กิจการเกี่ยวกับการให้บริการ (Service Firm) ในธุรกิจประเภทนี้ผลผลิตที่เกิดขึ้นคือการให้บริการเช้น ร้านซักรีดสถานรักษาพยาบาล ร้านตัดผมและธนาคาร เป็นต้น 1.2กิจการประเภทพานิชยกรรม (Merchandising Firms) เป็นกิจการที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเองแต่จะซื้อสินค้ามาเพื่อที่จะสามารถขายไปได้ทันทีเช่น ร้านขายของชำห้องสรรพสินค้า 1.3กิจการผลิต (Mautacturig Firms)เป็นการผลิตสินค้าสำเร็จรูปเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเช่นบริษัทผลิตผลไม้กระป่องบริษัทผลิตรถยนต์เป็นต้น 2.แบ่งตามรูปแบบของการประกอบการตามกฎหมายซึ่งสามารถแบ่งตามได้ 3 ประเภทคือ 2.1กิจการเจ้าของคนเดียว (IndividualProprship)เป็นกิจการขนาดเล็กให้เงินทุนไม่มากนักเจ้าของกิจการเป็นผู้บริหารเองเช่นร้านรายย่อยลักษณะธุรกิจประเทศนี้ก็คือเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจโดยไม่จำกัดจำนวนเมื่อธุรกิจต้องการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการก็อาจทำได้ลำบากเป็นข้อเสียชองธุรกิจประเภทนี้ 2.2ห้างหุ้นส่วนจำกัด(Partnership)เป็นธุรกิจซึ่งมีบุคคลต้องแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเป็นเจ้าของโดยมีสัญญาเข้ากันเป็นหุ้นส่วนกำหนดเงื่อนไขต่างๆในการบริหารงานและแบ่งปันผลกำไรร่วมกันผู้เป็นส่วนหนึ่งคนใดจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนสามารถแบ่งได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด -ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดห้างหุ้นส่วนสามัญจะนำไปจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ -ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนอย่างน้อย 1 คนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้เช่นเดียวกับบริษัทจำกัดส่วห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเสียภาษีเงินได้เหมือนบุคคลธรรมดา 2.3บริษัทจำกัด (Limited Company)เป็นกิจการที่ต้องขึ้นด้วยการแบ่งเงินทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นล่ะเท่าๆกันผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่คนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่มีความสำคัญเมื่อผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดตายหุ้นที่ถืออยู่ก็สามารถจำหน่วยให้ผู้ลงทุนอื่นๆไปได้โดยไม่ต้องเลิกบริษัท การดำเนินการใดๆตามกกหมายสามารถทำในนามบริษัทเพราะถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากเจ้าของผู้เป็นเจ้าของเรียกว่าผู้ถือหุ้นไม่สิทธิโดยตรงในการดำเนินงานชองบริษัทแต่มีสิทธิออกสียงเลือกคณะกรรมการบริหารงานและมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในผลกำไรของบริษัทมรรูปของเงินปันผล(Dividends) การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปอย่างต่อเนื่องทำให้เพิ่มทุนสามารถทำได้ง่ายลักษณะของกิจการประเภทนี้จึงเป็นกิจการค้าขนาดใหญ่ บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือบริษัทเอกชนจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด -บริษัทเอกชนจำกัดหมายถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 1095 “อันว่าบริษัทจำกัดคือบริษัทประเภทซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กันโดยมีผู้ถือหุ้นไม่ถึงหนึ่งรอยคนรวมทั้งนิติบุคคล(ถ้ามี)ผู้ถือหุ้นดังกล่าวต่างรับผิดชอบจำกัดเยงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งให้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ -บริษัทมหาชนจำกัดหมายถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535ซึ่งได้บัญญัติไว้ในมาตรา 15 “บริษัทมหาชนจำกัดคือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชนโดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ สุชาติเหล่าปรีดา. หลักการบัญชี 1 .กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563