การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

แนวทางของการศึกษาทางเศษรฐศาสตร์นั้นสามารถที่จะแบ่งแนวทางได้ 2 แนวทางใหญ่  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์  ซึ่งมีความจำเป็นมากเพราะว่ามีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา  โดยที่เราจำเป็นที่จะใช้จ่ายในการต้องการสินค้าและบริการเราต้องการทราวความพอใจที่ราคาต่ำสุด  หลักการดังการเป็นการใช้กลัดของทางเศรษฐศาสตณืในการเข้าช่วยในการตัดสินใจ  รายได้ที่ได้รับมาเท่านั้นเท่านี้ทำอย่างไรจึงจะพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  รวมไปถึงการอยู่การกินทั่วๆไปการศึกษาจึงสามารถที่จะทำได้ปหลากหลายอาจจะระบุตามตรงให้ได้เลยนั้นไม่สามารถที่จะทำได้  สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม  ลักษณะพฤติกรรมของคนและปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งมีความแตกต่างไปจากวิทยาศสตร์ที่สามารถทดลองออกมาได้อย่างเที่ยงตรง  ทางนักเศรษฐศาสตร์เองนั้นจึงได้หาแนวทางในการศึกษาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  โดยหลักใช้ทางคือ  วิธีอนุมาน  และวิธีอุปมาน  ในการสร้างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นวิธีอนุมาน  เป็นการทฤษฎีโดยการเริ่มต้นจากการสร้างข้อเท็จจริงและหากลัดเหตุผลจนสามารถที่จะสรุปมาได้  โดยเริ่มจากการศึกษาการใช้เหตุผลพิจารณาเรื่องราวที่จะต้องศึกษา  และตั้งสมมติฐาน ขึ้นมาก่อน  จากนั้นจึงพิจาณาหลักฐาน  หรือข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบเพื่อนำไปสรุปสมมติฐาน  และตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎี  วิธีการอนุมานเป็นการศึกษากาข้อมูล  ข้อเท็จจริงมาช่วยเสริมกฎหรือทฤษฎีในภายหลังการสร้างกฎหรือทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์โดยวิธีการอนุมานนี้มีขั้นตอนด้วยกันอยู่ 3 ขั้นตอนกล่าวคือ 1. การตั้งสมมติฐาน  เช่นในเรื่องของการกำหนดรายได้ประเทศ  ก็อาจจะตั้งสมมติฐานในระบบเศรษฐกิจ  ก่อนการวิเคราะห์และหลังไปตามสมมติฐานนั้นๆ  ดังนั้นประเด็นทฤษฎีจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ  นำไปพยากรณ์เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีแค่ไหน  จึงขั้นอยู่กับสมมติฐานที่กำหนดมีความสอดคล้องกับปัญหามากน้อยแค่ไหน  และสมมติฐานที่กำหนดขึ้นมีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงมากน้อยแค่ไหนอีกประการหนึ่ง2. การวิเคราะห์โดยกระบวนการของเหตุผลและการให้คำอธิบายเบื้องต้น  เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของตัวแปร  และอธิบายลักษณะความสัมพันธ์นั้นๆ  โดยใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์?3. การทดสอบหาข้อสรุป  เมื่อผลการทดสอบออกมาสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริง  ก็เป็นข้อสรุปที่สามารถตั้งเป็นทฤษฎีได้  แต่หากผลที่ได้ไม่สอดคล้องหรือไม่สามารถอธิบายได้  ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่วิธีอุปมาน  เป็นวิธีการศึกษาเหตุจากการศึกษาที่ตรงข้ามกับวิธีอนุมาน  กล่าวคือ  ก่อนที่จะตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีขั้นมาจะต้องรวบรวมข้อมูล  ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นระบบเสียก่อน  แล้วจึงนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หรือประมวลผลเพื่อที่จะสรุปเป็นขั้นตอนต่อไป  หรือกล่าวได้ว่าการศึกษาโดยวิธีอุปมานดังกล่าวเป็นการสรุปจากความจริงในส่วนย่อยหรือเป็นการสืบหาข้อเท็จจริงเสียก่อนแล้วจึงตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีขึ้นมา  สามารถที่จะแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอนต่อไปนี้– … Read more

แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์

   สำหรับแขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์ได้บางตามหน่วยของเศรษฐกิจ  ซึ่งสามารถที่จะครอบคลุมทั้งระดับเล็กสุดของตัวบุคคลและระดับประเทศชาติ  ซึ่งการศึกษาและการแก้ไขปัญหามีความแตกต่างกัน  คนที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์นั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้ครอบคลุมทั้งระบบ    อย่างเช่นเรื่องของบุคคลก็จะศึกษาเรื่องเกี่ยวกับรายได้ของตัวเอง  รายจ่ายที่ใช้ชีวิตประจำวัน  การแลกเปลี่ยนและอื่นๆ  สำหรับเรื่องในระดับประเทศเกี่ยวกับการเก็บภาษี  การค้าระหว่างประเทศต่างๆ  ดังนั้นจึงมีการแบ่งออกเป็นสองแขนงได้แก่1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics)  สำหรับการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคนั้นเป็นการศึกษาตั้งแต่ในระดับตัวบุคคลเป็นหน่วยย่อย  รวมไปถึงการศึกษาพฤติกรรมของแต่ละกลุ่มและละบุคคลในการบริโภคในการซื้อของแต่ละชนิด  สามารถที่จะราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตในการดำเนินการของตลาดของผู้ผลิต  การกำหนดปัจจัยการผลิต  ปริมาณการผลิต  กำหนดราคาและกลไกลของการตลาดต่างๆได้  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราด้วย2. เศรษฐศาสตร์มหาภาค (Macro Economics) เป็นการศึกษาในด้านส่วนรวมของประเทศส่วนใหญ่  ในการประเมินรายได้ของรัฐบาลและการค้าระหว่างประเทศ  การกำหนดนโยบายของการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ  และการแก้ปัญหา  รวมไปถึงการวางแผนในระยะยาว  ศึกษาในเชิงลึก  เช่น  รายได้รายจ่ายประชาชาติ  การออม  การลงทุนขนาดใหญ่  การกู้เงินระหว่างประเทศ  เป็นต้นถึงแม้ว่าจะแยกออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆ  แต่ก็ต้องมีการศึกษาทั้งสองเพราะว่ามีความเกี่ยวข้องกันมาก  จะขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้  ดังนั้นการศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงต้องศึกษาทั้งสองอย่าง  ยกตัวอย่างเช่น  การที่บุคลทำงานและมีรายได้  หากรายได้มาก  ก็จะมีการซื้อสินค้าต่างๆมากมาย  และส่งผลทำให้รายได้ประเทศจากการเก็บภาษีเพิ่มมากขึ้นด้วย  ส่งผลไปยังการพัฒนาประเทศ  และการดำเนินการนโยบาลต่อไปด้วย

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ในการดำเนินชีวิตในประจำวันนั้นมีการใช้ชีวิตที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ  โดยเฉพาะเรื่องความเป็นอยู่พื้นฐานของเรา  อารใช้ปัจจัยสี่ในการใช้ชีวิต  โดยเฉพราะการใช้จ่ายอย่างไรให้เพียงพอและสามารถเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับสำหรับคนที่ใช้จ่ายอย่างไร  ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทางผู้ผลิตจึ้งต้องทราบก่อนที่จะผลิตสินค้าป้อนเข้าสู่ตลาด  ซึ่งทราบกันดีว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างไม่จำกัดอย่างไรจึงทำให้เกิดวิชาศึกษาเศรษฐศาสตร์ขั้นมา  และปัญหาพื้นทางเศษฐกิจนั้น  แบ่งเป็น 2 ด้านคือ ด้านจุลภคและด้านมหาภาค1. ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่– จะผลิตอะไร  จะผลิตอะไรบ้างให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างไม่จำกัรดแต่มีวัตถุดิบที่ใช้ผลิตมีจำกัด– ผลิตอย่างไร  จะผลิตอย่างไรให้ได้ต้นทุกที่ต่ำที่สุดให้ได้ปริมาณที่มากที่สุด  สินเปลืองค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด  จะผลิตอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ– จะผลิตเพื่อใคร เป็นการเลือกลุ่มผู้บริโภคว่าต้องการที่จะผลิตให้กับกลุ่มเป้าหมายประเภทใดมากที่สุด  หรือว่ากลุ่มใดได้ประโยชน์ที่ได้รับสินค้าของเรา จัดสรรอย่างไรให้ถูกต้อง2. ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์มหาภาค ได้แก่– ปัญหาเรื่องแรงงาน  ที่ต้องแก้ไข  อย่างเช่นอัตราการว่างงาน และเกี่ยวกับทางการเกิด  เงินเฟ้อ อัตราค่าเงินต่าง– ปัญหาเรื่องการผลิต  การผลิตสินค้าและการควบคุมการผลิตสินค้าให้มีความต้องการของคนในประเทศสำหรับปัญหาทางเศรษฐกิจนั้นไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ไม่ก็ล้วนที่ต้องเจอในทุกๆระบบบ– ทรัพยกรที่มีอยู่มีจำกัด  ทุกประเทศนั้นจะมีทรัพยากรที่จำกัด  ไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือไม่ก็วัตถุดิบ ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ  ยังรวมไปถึงองค์ความรู้ที่ใช้ในการผลิตสินค้าด้วย– ความต้องการไม่จำกัด  ด้วยความต้องการของคนไม่มีจำกัด  ดังดั้นทรัพยากรที่มีอยู่จึงไม่เพียงต่อความต้องการ  จึงต้องใช้กลไกลของตลาด

อุปสงค์ (Demand) คืออะไร

อุปสงค์  คือ  การเสนอเลือกซื้อสินค้าในปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการ  ในราคาต่างๆ  ในเวลาใดเวลาหนึ่ง  มีความต้องการจงใจที่จะซื้อ  และความสามารถที่จะซื้อในช่วงเวลานั้นดังนั้นแล้วจึงเป็นความต้องการที่สามารถ  ซื้อได้จริงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ซึ่งจะต้องมีความต้องอย่างและมีเงินที่จะจ่ายได้ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการในชระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง  จะมีมากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ราคาสินค้าชนิดนั้น ระดับรายได้ของผู้บริโภค ราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อ รสนิยของผู้บริโภค จำนวนประชากร การโฆษณา ช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาล  เป็นต้น สำหรับปัจจัยดังกล่าวสามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้ราคาสินค้า  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผู้บริโภค  เนื่องจากต้องการใช้สินค้าทำให้เกิดความพึ่งพอใจสูงสุด  ดังนั้นหากราคาสินค้ามีราคาเพิ่มขึ้น ก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง  แต่ถ้าการาคาสินค้านั้นลดลงก็จะทำให้มีการซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ  อย่างเช่นสินค้าชนิดเดียวกันใช้แทนกันได้อย่างเช่นเนื้อไก่ราคาถูกกว่าเนื้อหมูจะมาซื้อเนื้อไก่แทน  หรือว่าสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกันรายได้ของผู้บริโภค  โดยสินค้าทั่วไปนั้นหากรายได้ของผู้บริโภคนั้นสูงก็จะสินค้าจำนวนนั้นมากหากรายได้ของผู้บริโภคน้อยก็จะทำให้เลือกซื้อสินค้านั้นน้อยลงเช่นกัน  ยิ่งเป็นสินสินค้าสิ้นเปืองด้วยแล้วหรืออาจจะไม่ซื้อเลย  แต่หากเป้นสินค้าที่มีความจำเป็นในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันแล้วอาจจะจำเป็นต้องซื้อราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เป็นตัวกำหนดปัจจัย  หากสินค้าที่มีสองชนิดสามารถทดแทนกันได้อาจจะต้องเลือกสินค้าชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าที่สามารถแทนกันได้รสนิยมของผู้บริโภค สำหรับสรนิยมแล้วมีความต้องการในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง แต่สินค้าชนิดนั้น  และอาจจะไม่นิยมในช่วงระยะเวลาต่อมาก็ได้จำนวนประชากร  ซึ่งมีความต้องการที่มีน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนและช่วงอายุที่มีความต้องการสินค้าชนิดนั้นๆ  หากมีจำนวนมากก็จะทำให้สินค้าจำหน่ายได้มากขึ้นด้วยการโฆษณา  การโฆษณาเป็นการประชาสัมพันธ์  ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการฤดูกาล  ในช่วงของฤดูกาลอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนของการตัดสินใจซื้อสินค้า  อย่างเช่น  พัดลม  เครื่องปรับน้ำอุ่น  ร่ม เป็ฯต้นซึ่งมีความต้องการและความจำเป็นในช่วงฤดูกาลเท่านั้น ฟังก์ชั่นอุปสงค์  คือสมการที่แสดงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่าปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่มีผลกับปัจจัยอื่นๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น  สำหรับการศึกษาในเบื้องต้นนั้น  จะใช้ปัจจัยในการศึกษามาบางตัวเท่านั้น  หากศึกษาในเชิงลึกต้องเข้าใจส่วนนี้ก่อน โดย Qx = f(Px,Y,Py,T,…) คือระบบความต้องการสินค้าและบริการ ราคาสินค้าชนิดนั้น(Px) … Read more

อุปทาน (Supply) คืออะไร

สำหรับในวิชาเศรษฐศาสตรแล้วนั้นคงต้องมีความควบคู่กับระหว่างอุปสงค์และอุปทานเสมอ  ดังนั้นแล้ว  อุปทานก็คือ  ปริมาณสินค้าหรือบริการที่ผู้ขายต้องการเสนอขาย  ในระดับราคาต่างๆ  ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง  โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่  ก็คือความต้องการขายหรือทางเสนอขายของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการนั้นเองปัจจัยที่กำหนดอุปทาน1. ราคาสินค้าสินนั้น (Px)2. ราคาปัจจัยการผลิต(Py)3. ต้นทุนการผลิต (C)4. เทคโนโลยีการผลิต (T) ราคาสินค้าชนิดนั้น  หากราคาสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้นมีความต้องการขายสินค้ามากขึ้นด้วย  และหากสินค้าชนิดนั้นลดลงผู้ขายต้องการที่จะขายสินค้าชนิดนั้นลดลงเช่นกัน  สรุปคือไปตามขนาดกับราคาสินค้านั้นเองราคาปัจจัยการผลิต  มีทิศทางตรงกันข้ามนั้นก็คือถ้าปัจจัยการผลิตสินค้ามีมากขึ้นหรือว่าราคาสูงขั้นก็จะทำให้มีความต้องการสินค้านั้นลดลงเพราะว่าจะทำให้ผู้ผลิตนั้นมีกำไรลดลงแต่หากปัจจัยการผลิตสินค้าลดลงก็จะทำให้ความต้องการขายสินค้าเพิ่มากขึ้นด้วยต้นทุนการผลิต  สำหรับต้นทุนการผลิตหากต้นทุการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีความต้องการขายสินค้าลดลงและหากต้นทุนการผลิตต่ำลงเทคโนโลยีการผลิต  การที่นำเทคโนโลยีการผลิตนำมาใช้นั้นช่วยให้การผลิตนั้นมีประสิทธิภาพ  หากเราได้นำเครื่องไม้เครื่องมือหรือว่าอุปกรณืที่เป็นเทคโนโลยีขั้ยสูงเข้ามาใช้ในการผลิตนั้นก็จะทำให้มีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นและยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงความต้องการขายสินค้าจะเพิ่มมากขึ้นด้วยนอกจากนั้นยังมีปัจจัยการผลิตอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือว่านโยบาลของทางรัฐบาล  และเกิดเรื่องของการเมือง  การเปิดเหตุอื่นๆที่ไม่สามารถคาดคะเนได้ซึ่งจะมีผลทำให้เปิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุปทานได้สมการอุปทาน (Supply Equation)เมื่ออุปทานเป็นการแสงความต้องการของผู้ผลิตจึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการผลิตโดยสามารถที่จะเขียนได้ดังนี้Qx = f(Px, Py, C, T,….)จากฟังก์ชั่นเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่ต้องการเสนอขายและปัจจัยการผลิตราคาสินค้า  และยังมีปัจจัยที่สำคัญคือราคาสินค้าที่จำหน่ายกฎของอุปทาน (law of supply)ถ้าราคาสินค้าสูงขึ้น  ปริมาณการเสนอขายสินค้าจะเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าราสินค้าลดลงจะทำให้ความต้องการเสนอขายสินค้ามีจำนวนลดลง

หน่วยทางเศรษฐกิจ

หน่วยของเศรฐกิจนั้นมีหน้าที่สำคัญให้ระบบของเศษรฐกินเคลื่อนที่ไปในเทศทางที่ควร  โดยจะมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีหน้าที่ในการซื้อสินค้าและบริการแลผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ  ซึ่งบางระบบอาจจะต้องมีรัฐเข้ามาดูแลและควบคุมเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค  โดยหน่วยต่างแของเศรษฐกิจจะมีดังต่อไปนี้หน่วยของครัวเรือน : เป็นหน่วยของธุรกิจที่มีขนาดเล็ก  ทำหน้าที่ในการใช้บริการและบริโภคเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตด้วยหน่วยธุรกิจ : เป็นหน่วยที่รวบรวมและนพปัจจุบัยการผลิตทั้งหมดมาประกอบการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา  อาจจะอยู่ในรูปแบบโรงงาน  บริษัท หรืออื่นๆหน่วยรัฐบาล : มีหน้าที่ในการดูแลความสงบเรียบร้อย  และจัดสรรค์ควบคุมทรัพยากรให้เหมาะสมสำหรับประเทศ  นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีหน้าในการจับเก็บภาษีเป็นเจ้าของกิจการเอง  และได้ลงทุนเองจึงสามารถที่จะเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค  จะเห็นได้จากตัวอย่างดังภาพ    จากรูปอธิบายได้ว่า  หน่วยของครัวเรือนนั้นได้ทำการป้อนปัจัยการผลิตไปแล้วจะได้รับค่าตอบตอนในรูปแบบต่างอย่างเช่น  ขายวัตถุดิบ  ขายแรงงานก็จะได้รับเป็นค่าตอบแทน  หน่วยธุรกิจจึงสามารถที่จะรวมปัจจัยการผลิตให้อยู่ในรูปแบบสินค้าและบริการ  และเมื่อได้สินค้าและบริการก็จะป้อนให้กับหน่วยครัวเรือน  ก็จะได้รับค่าตอบแทนกลับมา เพื่อจ่ายค่าปัจจัยการผลิตนั้นเองเมื่อมีหน่วยรัฐบาลเข้ามาจะมีกระบวนการดังรูป จากรูปจะเห็นได้ว่าเมื่อมีหน่วยรัฐบาลเข้ามาแล้วจะทำการเก็บภาษีซึ่งเป็นรายได้ของรัฐบาล  เมื่อได้จากการเก็บภาษีแล้วก็จะนำไปลงทุนในส่วนต่างๆ  และนำไปจ่ายพนังงานข้าราชการ  รวมไปถึงจ่ายค่าทุนการศึกษา  เบี้ยเลี้ยงต่างๆ สำหรับหน่วยธุรกิจเองก็จ่ายภาษีแล้วทางรัฐอาจจะให้การลงทุนต่างๆ

ระบบเศรษฐกิจ

การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ  อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์  ระเบียบ  หรือว่าแนวทางปฏิบัติ  เพื่อให้การทำหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ  ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุวัตถุประสงค์ของส่วนรวม  อย่างไรก็ตามประเทศต่างๆ  ไม่จำเป็นต้อมีระเบียบกฏเกณฑ์ดังกล่าวเหมือนกันนั้นหมายถึงว่ามีระบบเศรษฐกิจที่ต่างกัน  โดยทั่วไปตามระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  ในโลกนี้  แบ่งออกเป็น 2 ประเทศใหญ่ๆ  ดังนี้ 1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capialist  Economic  System)  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้บางครั้งเรียกว่า  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม  ระบบนี้มีลักษณะสำคัญคือเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต  มีเสรีภาพในการเลือกดำเนินการทางเศรษฐกิจตาใจชอบ  โดยอาศัยกลไลของราคา  โดยรัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจชองเอกชน  เช่น  การไม่ควบคุมการผลิตการกำหนดราคาและการจำหน่ายสินค้า  แต่จะดำเนินกิจการบางอย่างที่จำเป็นซึ่งเอกชนไม่สามารถที่จะทำได้  เช่นกิจการสาธารณูปโภค  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้จึงมีข้อดีในแง่ที่ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ  ทั้งนี้เพราะการที่เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  จึงทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะแสวงหากำไรสูงสุด  โดยเลือกผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้ผู้ผลิตต้องการกำไร  โดยพยายามปรับปรุงเทคนิคการผลิตตลอดเวลาเพื่อลดต้นทุนการผลิต  ซึ่งมีผลให้ราคาสินค้าต่ำลง  ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดผลดีแก่ระบบเศรษฐกิจในด้านการประหยักทรัพยากรและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกประการหนึ่ง  หารที่บุคคลมีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของตนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดนั้นคือ  ทำให้คนมีรายได้สูง  จึงมีผลให้ประเทศมีรายได้ประชาชาสูงตามไปด้วย  และนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ส่วนข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบนี้คือ  บุคคลในสังคมมีแนวโน้มไปในการมุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ทางด้านวัตถุไม่คำนึงถึงศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม  เนื่องจากทุกคนมีเสรีภาพมาก  นอกจากนี้การใช้ระบบเศรษฐกิจนี้ในประเทศที่ไม่มีความพร้อมโดยเพราะทางด้านการเมือง  จะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม  โดยมีอำนาจทางการเมืองแทรกแซงจนทำให้บุคคลบางกลุ่มได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นในการแสวงหาผลประโยชน์  ดังนั้นการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจึงมีโอกาสมากที่จะเกิดผูกขาด  และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้2. ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialist  Economic  System) ระบบเศรษฐกิจนี้มีลักษณะที่สำคัญคือ  มุ่งให้ชุมชนหรือสังคมส่วนรวมเป็นผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  โดยรัฐบาลจะเป็นผู้วางแผลและกำหนดกิจกรรมดั้งกล่าว  ดังนั้นเอกชนจึงไม่มีเสรีภาพที่จะทำกิจกรรมใดๆ  … Read more

การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ในระบบเศรษฐกิจนั้นมีความการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันในเรื่องของผู้ที่มีอำนาจในการจัดการ  และเป็นเจ้าของทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต  จึงทำให้การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันดังนี้1. การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เนื่องจากระบบเศรษฐกิจนี้ส่วนใหญ่เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยากร  โดยอาศัยระบบตลาดหรือกลไกของราคาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ปัญหาที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจ  โดยมีรายละเอียดดังนี้            1.1 การตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร  เป็นบทบาทหน้าที่ของเอกชนหรือหน่วยธุรกิจที่จะตัดสินใจผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดๆ  ที่ทำให้เขาได้กำไรสูงสุด  ซึ่งอาศัยกลไกของตลาดที่ประกอบด้วยผู้บริโภค  พร้อมทั้งคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตและสักยภาพของผู้ผลิตในการผลิตสินค้านั้น  สิ่งที่ชี้บอกให้หน่วยธุรกิจตัดสินใจได้ก็คือ  ราคาสินค้า  เพราะว่าราคาเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการสินค้านั้นมากน้อยเพียงใด  ขณะเดียวกันเป็นตัวชี้ขอกให้ผู้ผลิตตัดสินใจได้ว่าควรผลิตมากน้อยเพียงใด  โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเปรียบเทียบกับราคาเพื่อประกอบในการตัดสินใจได้ว่าควรผลิตสินค้าใด  มากน้อยเพียงใด  จึงจะทำให้ตนเองได้กำไร1.2 การตัดสินใจว่าจะผลิตอย่างไร  หมายถึง  หน่วยธุรกิจจะเลือกวิธีการผลิตซึ่งเกี่ยวข้องกับกาสรเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่นๆ  นั้นคือ  วิธีการผลิตที่เสียต้นทุนการผลิตต่ำสุดโดยใช้ผลิตตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ  และสิ่งที่กำหนดต้นทุนคือ  ราคาปัจจัยการผลิต  ดังนั้นราคาจึงมีบทบาทสำคัญที่ผู้ผลิตนำไปใช้ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิต  ดังนั้นผู้ผลิตย่อมจะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูกเท่าที่จะทำให้โดยที่ทำให้ได้ผลผลิตตามต้องการ  วิธีการใช้ปัจจัยการผลิตบ่งออกเป็นสองวิธีที่สำคัญคือ  การใช้ปัจจัยการผลิตทุนในสัดส่วนที่มากกว่าแรงงาน  และการใช้ปัจจัยการผลิตแรงงานในสัดส่วนที่มากกว่าทุนด้วยเหตุนี้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาค่าจ้างแรงงานจึงไม่สูง  และไม่สามารถผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์หรือสินค้าทันได้เอง  ซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง  จึงควรเลือกผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานมากว่าปัจจัยการผลิตทุน  เพราะจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่ำ  นอกจากนั้นคนไทยยังเป็นผู้ที่มีความถนัดในการผลิตงานที่มีฝีมือ  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพยายามเลือกการผลิตสินค้าในวิธีการดังกล่าว1.3 การตัดสินใจว่าจะผลิตเพื่อใคร  หมายถึง  สินค้าที่ผลิตขึ้นมาในสังคมควรจะกระจายไปสู่ผู้ใดบ้างในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่อาศัยราคาเป็นเครื่องตัดสินใจ  ผู้ที่จะได้บริโภคสินค้าคือ  คนที่มีอำนาจซื้อหรือรายได้นั้นเอง  เพราะว่าเอกชนหรือหน่วยธุรกิจย่อมตัดสินใจให้แก่ผู้ที่นำเงินพอที่จ่ายในราคาที่ผู้ผลิตขายหรือได้กำไร2. การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลหรือว่ากรรมการกลางจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้ทรัพยากร  ในประเด็นจะเลือกผลิตอะไร  เป็นจำนวนเท่าไหร่   จะผลิตโดยใช้วิธีการใด  และผลิตเพื่อใคร  ซึ่งตามหลักการแล้วรัฐบาลจะต้องกระทำไปโดยใช้อำนาจสั่งกานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่  อย่างก็ตามการกระทำนี้จะประสบผลสำเร็จดังกล่าวได้ต้องขึ้นอยู่กับการมีข้อมูลที่สมบูรณ์  ถูกต้องและรัฐบาลต้องเป็นกลุ่มที่มีคุณธรรมจริยธรรม  และความรู้ความสามารถในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ