งบกำไรสะสม (Retained Earning)

เป็นงบซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมที่เกิดขึ้นระหว่างงวดบัญชีทำหใทราบว่าในการดำเนินงานมีผลกำไรเกิดขึ้นเท่าไหร่จ่ายเงินปันผลเท่าไหร่กำไรสะสมยกมาในวันต้นปีและกำไรสะสม ณ วันต้นปีดังตัวอย่าง

งบกำไรขาดทุน (Income Statement)

งบกำไรขากทุนเป็นงบหรือรายการที่แสดงถึงการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งอาจจะเป็น 1 ปี3 เดือน 6 เดือนแล้วแต่กิจการนั้นๆได้กำหนดไว้ถ้าหากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก็จะเป็นกำไรแต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายก็จำกลายเป็นขาดทุนนั้นเอง ส่วนประกอบของงบกำไรขาดทุน รายได้(Revenue)หมายถึงผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงินและยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้าดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกันโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1.1 รายได้โดยตรงเป็นรายได้สัมพัธุ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการขายสิ้นค้าหรือบริการค่างๆของกิจการ 1.2รายได้อื่นๆเป็นรายที่นอกจากรายได้โดยตรงเช่นเกิดจากขายสินทรัพย์ ค่าใช้จ่าย (Expenses)คือต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จากไปเพื่อจ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย กำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) หมายถึงส่วนที่เกิดจากรายได้ที่มากกว่าค่าใช้จ่ายในระยะรอบบัญชีนั้นๆแต่ถ้าหากค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ก็ถือว่าขาดทุนสุทธินั้นเอง ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน

การวัดมูลค่าคือการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลและงบกำไรขาดทุนการวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆในสัดส่วนที่แตกต่างกันในลักษณะที่ไม่เหมือนกันซึ่งเกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆมีดังต่อไปนี้ 1.ราคาทุนเดิน (HistoticalCost) หมายถึง 1.1การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือ 1.2บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณเวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น 1.3การบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือ 1.4บันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดการดำเนินงานตามปกติของกิจการ 2.ราคาทุนปัจจุบันหมายถึง 2.1การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน 2.2การแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระผูกพันในขณะนั้น 3.มูลค่าที่จะได้รับหมายถึง 3.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขายสินทรัพย์โดยใช่การบังคับขาย 3.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้กินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ มูลค่าปัจจุบันหมายถึง 4.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการและ4.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระเงินสินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน ทฤษฏีแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุนเป็นแนวคิกทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งแม่บทการบัญชีนำมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลกำไรโดยพิจารณาส่วนของทุนของกิจการ             1.แนวคิดเกี่ยวกับทุน                      แนวคิดเกี่ยวกับทุนเป็นแนวคิดทางการเงินที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันและแนวคิดทางการผลิตซึ่งทั้ง 2แนวคิดถูกใช้เป็นแนวทางในการจัดการงบการเงินโดยนำแนวคิดเกี่ยงกับทุนที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำงบการเงินโดยคำนึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลักโดย แนวคิดที่กิจการควรนำมาใช้ เมื่อผู้ใช้งบการเงินให้ความสนใจเกี่ยวกับ 1. แนวคิดทางการเงิน 1. การรักษาระดับของทุนที่ลงไปในรูปของตัวเงินหรือในรูปของอำนาจซื้อ 2. แนวคิดทางการผลิต 2. กำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิต แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนให้ความสำคัญคำนิยามที่กิจการกำหนดเกี่ยวกับทุนที่กิจการต้องการรักษาระดับซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับทุนกับกำไรเพื่อกำหนดจุดอ้างอิงในการวัดผลกำไรซึ่งแนวคิดนี้ใช้เป็นพื้นฐานในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง 2.1 ผลตอบแทนจากการลงทุน(ซึ่งเป็นผลตอบแทนเกินทุนที่ลงไป) 2.2 ผลที่ได้รับจากเงินลงทุน (ซึ่งเป็นผลที่ได้รับไม่ว่าจะเกินทุนหรือไม่) … Read more

เกี่ยวกับงบการเงิน

ข้อมูลทางบัญชีมีประโยชน์ต่อบุคคลทั้งหลายฝ่ายด้วยกันและจะมีประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นในอนาคตเมื่อธุรกิจขยายใหญ่โตขึ้นผู้ที่มีส่วนได้เสียจะเพิ่มมากขึ้นผู้บริหารย่อมจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อที่บผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้ทำบัญชีต้องการทราบฐานะทางการเงินของกิจการให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งได้แก่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นซึ่งต้องการทราบฐานะของกิจการและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารเจ้าหนี้ผู้ซึ่งต้องการทราบความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ของกิจการรัฐบาลต้องการทราบข้อมูลเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและเพื่อเก็บภาษีเป็นต้นถ้าผู้บริหารต้องจัดทำงบการเงินแต่ละชุดเพื่อสนองความต้องการของบุคคลแต่ละฝ่ายย่อมทำให้เกิดความสับสนในความเชื่อถือได้ของข้อมูลเพราะผู้ใช้งบการเงินอาจเกิดความไม่แน่ใจว่างบการเงินชุดใดจะตรงตามวัตถุประสงค์ของตนอาจจะต้องของบการเงินที่ทุกชุดมาประกอบการพิจารณาก็เป็นได้ดังนั้นโดยหลักการการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้วงบการเงินที่เสนอต่อบุคคลภายนอกจึงทำขึ้นชุดเดียวเพื่อนำไปใช้สนองความต้องการของบุคคลภายนอกทุกฝ่ายงบการเงินจึงเป็นข้อมูลทางการเงินที่สำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายจะได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน          การจัดทำรายงานทางการบัญชีแสดงข้อมูลซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจของหน่วยงานต่างๆที่สำคัญๆอาจจัดเป็นงบการเงินซึ่งประกอบด้วยงบดุลงบกำไรขาดทุนงบกำไรสะสมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน แผนภาพแสดงถึงการไหลของรายการค้าไปสู่งบการเงิน งบการเงินแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆคือ 1.งบดุล (Balance Sheet) 2.งบกำไรขาดทุน(IncomeStatement) 3.งบกำไรสะสม(Statementof Retained Earnings) 4.งบกระแสเงินสด (Statementof CashFlows) 5.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในของผู้ถือหุ้น(StatementofChanger inSharaholders’ Equity) ที่มา : ผจงศักดิ์หมวดสง.หลักการบัญชี.กรุงเทพ,มหาวิทยาลับศรีนครินทร์วิโรฒ

องค์ประกอบของงบการเงิน

องค์ประกอบของงบการเงินเป็นรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีตามลักษณะเชิงเศรษฐกิจซึ่งนำมาจัดประเภทและแสดงไว้ในงบการเงินโดยสามารถสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินในงบดุลได้แก่สินทรัพย์หนี้สินและส่วนขอเจ้าของ องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนได้แก่รายได้และค่าใช้จ่าย ส่วนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินจะสะท้อนถึงองค์ประกอบในงบกำไรขาดทุนและการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในงบดุลอยู่แล้ว คำนิยามขององค์ประกอบงบการเงิน สินทรัพย์ 1.ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ2.ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต3.ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต หนี้สิน 1.ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ2.ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต3.ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ส่วนของเจ้าของ 1.ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว รายได้ 1.การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือง2.การเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือ3.การลดลงของหนี้สิน4.อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ค่าใช้จ่าย 1.การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือ2.การลดค่าของสินทรัพย์หรือ3.การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน4.อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลงทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้ส่วนร่วมในของส่วนเจ้าของ ที่มา : สุชาติเหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ,สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2563

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน

การรับรู้รายการ หมายถึงการรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุลและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรัยรู้รายการซึ่งรับรู้รายการเมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ 1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ 2.รายการดังกว่ามีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ เงื่อนไขข้อแรก “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”              เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการโดยระดับความแน่นอนแบ่งเป็นความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Prob < 50%)ความเป็นไปได้พอสมควร (Prob = 50%)และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (Prob > 50%) และเมื่อรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นมีความน่าจะเป็นสูงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่รายการดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขข้อแรก                เงื่อนไขข้อสอง “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”                     เมื่อผ่านเงื่อนไขข้อแรกแล้วต้องพิจารณาเงื่อนไขข้อที่สองว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้วกิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงินแต่กรณีถ้ารายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการกิจการควรเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรืออธิบายเพิ่มเติมหากรายการนั่นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หลักการรับรู้รายการในงบดุลและงบกำไรขาดทุน การรับรู้สินทรัพย์ 1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ2.สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้หนี้สิน 1.มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและ2.มูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายได้ 1.เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ2.การลดลงของหนี้สินและ3.สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้ค่าใช้จ่าย 1.เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือ2.การเพิ่มขึ้นของกนี้สินและ3.สามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ ที่มา : สุชาติเหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ:สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2563

งวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชี

ก่อนที่จะได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการบันทึกในบทต่อๆไปนั้นนักศึกษาควรที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่างวดบัญชีหรือระยะเวลาบัญชีเสียก่อน                    คำว่า“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period)ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายซึ่งงวดบัญชีหรือรอบระยะเวลาบัญชีในแต่ละงวดหรือในแต่ละรอบนั้นหมายถึงการที่กิจการจะทำการบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาที่กำหนดจากนั้นก็จะสรุปออกมาว่าในแต่ละงวดเวลานั้นกิจการมีผลกำไรหรือขากทุนอย่างไรและเมื่อถึงวันสิ้นงวดนั้นกิจการมีฐานะการเงินอย่างไรเช่นในงวด 1 เดือนที่ผ่านมากิจการมีผลกำไรหรือขาดทุนเท่าไรและในวันสิ้นงวด 1 เดือนกิจการมีสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของคงเหลืออยู่เท่าไรนั้นเองโดยในการกำหนดงวดบัญชีนี้จะเริ่มต้นวันที่เท่าไรก็ได้และวันสุดท้ายก็คือวันสิ้นสุดงวดบัญชีตามที่กำหนดระยะเวลาเป็น 1 เดือน 3เดือน 6เดือนหรือ1 ปี                     ปีการเงินหรือ ปีบัญชี (fiscal Year)ในการกำหนดงวดบัญชีเท่ากับ 1 ปีหรือ 12 เดือนเราก็เรียกงวดบัญชีนั้นว่าปีบัญชีหรือปีการเงินซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่เท่าไรก็ได้เช่น 1 ตุลาคม 2540 – 30 กันยายน … Read more

บัญชีการเงิน และบัญชีเพื่อการจัดการ (Financial Accouting and Management Accounting)

จากจำนวนผู้ใช้งานสารสนเทศทางการบัญชีจำนวนมากสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายในและผู้ใช้ที่เป็นบุคคลภายนอกโดยจะจัดแบ่งกาบัญชีออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่การบัญชีการเงินและการบัญชีเพื่อการจัดการ                   บัญชีการเงิน (Financial Accounting)เป็นบัญชีที่มีการจัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศให้แก่ผู้บริหารและบุคคลภายนอกองค์กรเช่นนักลงทุนผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้หน่วยงานรัฐบาลเช่นกรมสรรพากรกรมทะเบียนธุรกิจและการค้าซึ่งบัญชีการเงินนี้จะต้องปฎิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ                    นักบัญชีเพื่อการจัดการ(Management Accounting) เป็นข้อมูลสารสนเทศที่จัดทำขึ้นสำหรับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อใช้ในการตัดสินใจภายในเช่นผู้บริหารระดับสูงหัวหน้างานหรือบุคลากรที่มีความต้องการให้ข้อมูลดังกล่าวโดยบัญชีเพื่อการจัดการนี้ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปรูปแบบและระยะเวลาสำหรับรายงานขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร

งานและประเภทอาชีพของนักบัญชี

        สำหรับงานของนักบัญชีนั้น  สามารถที่จะทำได้ในหลากหลายหน่วยงาน  ไม่ว่าจะเป็นทั้งรัฐบาล รวมไปถึงการนำความรู้ไปประกอบอาชียอิสระได้  เพราะว่าการทำบัญชีนั้นจะต้องอาศัยนักบัญชีในการจัดเก็บรวบรวมทางการเงิน  มีความจำเป็นเกือบทุกองค์และจะมีตำแหน่งทางบัญชี  แม้กระทั้งหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไรอย่างเช่นมูลนิธิการกุศลต่างๆไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือว่าเล็กก็ตาม  นักบัญชีจะต้องเข้ามามีบทบาท  แม้กระทั้งเกี่ยวกับการส่งของ  การตลาด  ข้อมูลทางการเงินมีความสำคัญมาก  ส่วนใหญ่มีการแบ่งลักษณะของผู้ทำบัญชีไว้  3 ลักษณะดังนี้                 1. นักบัญชีหน่วยงานเอกชน  เป็นหน่วนงานที่เป็นกิจการเอกชน บริษัทในรูปแบบต่างๆ  จะเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าหน้าที่หรือว่าพนังงานในกิจการนั้นๆ  เป็นลูกจ้างเอกชน  จะได้รับเงินเดือนเป็นท่าตอบแทน  หรือจะมีโบนัส OT บริษัทเอกชนเหล่านี้มีความต้องการให้นักบัญชีได้เข้ามาจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน  ให้กับเจ้าของหรือว่าผู้บริหารในกิจการบริษัท  ให้ได้รับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจต่างๆในด้านการลงทุน  เพราะบางทีเจ้าของอาจจะไม่มีความรู้ในด้านการบัญชี  นักบัญชีจึงมีความจำเป็นมากในองค์  หากเป็นบริษัทที่ใหญ่แล้วอาจจะต้องมีพนังงานด้านบัญชีแบ่งไปหลานคนหลายหน่วยงาน  นอกจากนั้นนักบัญชีอาจจะใช้ความรู้ในด้านการประเมินภาษีให้กับกรมสรรพากร  รายงานประจำปี  งานบัญชีอาจจะมีได้มีขอบเขตทางด้านการเงินเท่านั้น  นักบัญชีอาจจะไปทำงานที่เกียวกับการตรวจสอบสินค้า  ก็ได้  ยังรวมไปถึงองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร  ก็ต้องมีการรวบรวมทางการเงินโดยนักบัญชีด้วย  ตำแหน่งงานต่างๆ  อย่างเช่น  หัวหน้าแผนกบัญชี  สมุห์บัญชี  นักบัญชี  ผู้ตรวจสอบบัญชีประจำบริษัท  เป็นต้น          … Read more

ประวัติความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชีเป็นภาษาทางธุรกิจซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษานี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามปกติในทุกๆ วันโดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเมื่อใช้ในการบัญชีดังเช่นเราจะได้ยินคำศัพท์เช่นสินทรัพย์หนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้ค่าใช้จ่ายและกำไรขาดทุนเป็นต้นการบัญชีจึงเป็นกิจกรรมของการให้บริการซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณที่เกียวข้องกับรายการทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจการบันทึกข้อมูลทางการบัญชีได้ทำกันมานานแล้วไม่น้อยกว่า 5 พันปีโดยจากหลักฐานที่ปรากฏการจดบันทึกข้อมูลและการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียวมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจคือ 1.สมัยอียิปต์มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆในท้องพระคลัง 2.สมัยบาปิโลน มีการบันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับโดยมีการระบุวันที่รับชื่อผู้รับและชื่อผู้ให้ 3.สมัยกรีกมีการพัฒนาปรับปรุงในเรื่องของข้อมูลในการรับและจ่ายประจำงวดตลอดจนการคำนวณหายอดคงเหลือต้นงวดปลายงวดเพื่อต้องการทราบจำนวนทรัพย์สินมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการคำนวณผลกำไร 4.สมัยโรมันมีการบันทึกทางการบัญชีเกขึ้นในลักษณะของการบันทึก 2 ด้านเหมือนกับหลักบัญชีคู่เพราะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นว่ารับมากจากใครและจ่ายให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่                  พัฒนาการทางด้านบัญชีขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่การบัญชีแพร่หลายในยุโรปสมัยกลางของประวัติศาสตร์ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของระบบขุนนางหรือศักดินาในขณะนั้นในสมัยต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจเป็นระบบคฤหาสน์การบัญชีจำเป็นต้องขยายตัวให้เยงพอกับความต้องการและความจำเป็นของระบบนั้นด้วยระบบบัญชีคู่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นผลเนื่องมาจากขยายตัวทางด้านการหัตถกรรมและพานิชยกรรมความต้องการให้มีการบันทึกการจัดหมวดหมู่รายการตลอดจนการเสนอผลสรุปของการค้าที่ขยายตัวขึ้นทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นมาแต่ก่อน                    การบัญชีในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปีพ.ศ. 2193 – 2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยนี้ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศยุโรปคืออังกฤษฝรั่งเศสและโปรตุเกสเป็นต้นบัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรกคือบัญชีเงินสดและได้ถือปฎิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีเงินพระคลังเป็นหมวดหมู่และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากันเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นกันกล่าวคือในปีพ.ศ. 2482พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้าให้บรรจุเรื่องการบัญชีเป็นสาขาหนึ่งใน 8 อย่างของชั้นประโยค 2 ซึ่งเป็นชั้นเรียนสูงสุดของการเรียนสมัยนั้นแต่เป็นเพียงการทำบัญชีเกี่ยวกับการเงินเท่านั้นยังไม่ใช่หลักการบัญชีคู่ที่แท้จริงต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยราชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการส่งไปเรียนด้านพาณิชย์และบัญชีที่ประเทศอังกฤษด้วยเหตุกาณ์ข้างตันนี้ทำให้การบัญชีของไทยสมัยนั้นเป็นแบบอังกฤษนอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น 2 แห่งคือโรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยาและโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้าโดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง 3 เล่นคือสมุดบัญชีเงินสดสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทในปี พ.ศ.2481ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในปี พ.ศ. … Read more