ระบบเศรษฐกิจ

การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ  อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์  ระเบียบ  หรือว่าแนวทางปฏิบัติ  เพื่อให้การทำหน้าที่ของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ  ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  บรรลุวัตถุประสงค์ของส่วนรวม  อย่างไรก็ตามประเทศต่างๆ  ไม่จำเป็นต้อมีระเบียบกฏเกณฑ์ดังกล่าวเหมือนกันนั้นหมายถึงว่ามีระบบเศรษฐกิจที่ต่างกัน  โดยทั่วไปตามระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ  ในโลกนี้  แบ่งออกเป็น 2 ประเทศใหญ่ๆ  ดังนี้


1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capialist  Economic  System)  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้บางครั้งเรียกว่า  ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม  ระบบนี้มีลักษณะสำคัญคือเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต  มีเสรีภาพในการเลือกดำเนินการทางเศรษฐกิจตาใจชอบ  โดยอาศัยกลไลของราคา  โดยรัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจชองเอกชน  เช่น  การไม่ควบคุมการผลิตการกำหนดราคาและการจำหน่ายสินค้า  แต่จะดำเนินกิจการบางอย่างที่จำเป็นซึ่งเอกชนไม่สามารถที่จะทำได้  เช่นกิจการสาธารณูปโภค  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้จึงมีข้อดีในแง่ที่ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ  ทั้งนี้เพราะการที่เอกชนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  จึงทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะแสวงหากำไรสูงสุด  โดยเลือกผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการมากที่สุด นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทำให้ผู้ผลิตต้องการกำไร  โดยพยายามปรับปรุงเทคนิคการผลิตตลอดเวลาเพื่อลดต้นทุนการผลิต  ซึ่งมีผลให้ราคาสินค้าต่ำลง  ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดผลดีแก่ระบบเศรษฐกิจในด้านการประหยักทรัพยากรและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกประการหนึ่ง  หารที่บุคคลมีสิทธิเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของตนให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดนั้นคือ  ทำให้คนมีรายได้สูง  จึงมีผลให้ประเทศมีรายได้ประชาชาสูงตามไปด้วย  และนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ส่วนข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบนี้คือ  บุคคลในสังคมมีแนวโน้มไปในการมุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ทางด้านวัตถุไม่คำนึงถึงศีลธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม  เนื่องจากทุกคนมีเสรีภาพมาก  นอกจากนี้การใช้ระบบเศรษฐกิจนี้ในประเทศที่ไม่มีความพร้อมโดยเพราะทางด้านการเมือง  จะทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม  โดยมีอำนาจทางการเมืองแทรกแซงจนทำให้บุคคลบางกลุ่มได้เปรียบกว่าบุคคลอื่นในการแสวงหาผลประโยชน์  ดังนั้นการผลิตในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจึงมีโอกาสมากที่จะเกิดผูกขาด  และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
2. ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialist  Economic  System) ระบบเศรษฐกิจนี้มีลักษณะที่สำคัญคือ  มุ่งให้ชุมชนหรือสังคมส่วนรวมเป็นผู้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  โดยรัฐบาลจะเป็นผู้วางแผลและกำหนดกิจกรรมดั้งกล่าว  ดังนั้นเอกชนจึงไม่มีเสรีภาพที่จะทำกิจกรรมใดๆ  ในทางเศรษฐกิจ  และนอกจากนั้นรัฐบาลจะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่  ในขณะที่เอกชนได้รับผลตอบแทนเพียงแต่ปัจจัยการดำรงชีพเท่านั้น  จึงทำให้ประชาชนขาดแรงจูงใจที่จะทำงาน  มีผลให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างช้าๆ  ซึ่งทำให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  และการวางแผลในเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาจากส่วนกลางคือ  รัฐบาลย่อมทำให้ประชาชนทุกคนมีงานทำรายได้เสมอภาคกัน  ซึ่งระบบเป็นข้อดีแบบนี้  อย่างไรก็ตามถ้ารัฐบาลไม่มีความรู้ความสามารถจะทำให้การวางแผลเรื่องเศรษฐกิจผิดพลาดได้  แล้วทำให้เกิดความเสียหายของทรัพยากรส่วนรวม  ในขณะที่ภาคเอกชนขาดเสรีภาพในการผลิต  และการบริโภค  ซึ่งเป็นข้อที่เกิดขึ้นได้ในระบบเศรษฐกิจนี้
ในปัจจุบันกล่าวได้ว่า  ไม่มีประเทศใดที่ใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหรือว่าสังคมนิยมอย่างสมบูรณ์  ในทางปฏิบัติทุกประเทศต่างก็ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมระหว่างทุนนิยมหรือว่าสังคมนิยม  โดยบางประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่ค่อนข้างไปทางทุนนิยม  เช่นสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  และไทย  ในประเทศเหล่านี้รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง  โดยเฉพาะด้านสาธารณูปโภคส่วนบางประเทศก็มีระบบเศรษฐกิจแบบผสมที่ค่อนข้างไปทางสังคมนิยม  เช่น อังกฤษ  ฝรั่งเศส  แคนนากา  โดยเฉพาะประเทศจีน  ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจเน้นหนักไปทางสังคมนิยมมากว่าประเทศอื่นๆ
ไม่ว่าประเทศต่างๆ  จะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบใดก็ต้องเผชิญกับปัญหาที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัด ซึ่งเป็น

สินเชื่อออมสิน

Leave a Comment