สมการบัญชี

           สมการบัญชี นี้ถือได้ว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่มีความสำคัญก่อนที่เราจะเข้าสู่ความรู้ในเรื่องถัดไปเพื่อวิเคราะห็รายการทางการค้าให้ถูกต้อง และจะได้นำความรุไปวิเคราะห์และลงรายการต่อไป                          การที่จะบันทึกข้อมูลทางด้านบัญชีนั้นเราต้องเรียนรู้สมการทางบัญชีเสียก่อนจึงจะสามารถบันทึกข้อมูลตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปได้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้อย่างถูกต้องสมการบัญชีหมายถึงการแสดงถึงทรัพยากรของกิจการเชิงเศรฐกิจที่อยู่ในการดูแลและควบคุมของกิจการและมีสิทธิในการครอบครองทั้งหมดที่มีในทรัพยากรนั้นไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเข้าของโดยสมการบัญชีจะแสดงถึงความสัมพันธ์ของสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของและหากรายการของธุรกิจกิจการมีการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปจะมีผลกระทบทั้งสองข้างตัวอย่างการนำเงินมาลงทุนก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยสินทรัพย์ที่เป็นเงินนั้นเพิ่มขึ้น และส่วนของเจ้าของก็เพิ่มขึ้นด้วยเพราะว่าเงินในส่วนของทุนนั้นเพิ่มขึ้นและหากกู้เงินมาลงทุนก็จะทำให้หนี้สินนั้นเพิ่มขึ้น และสินทรัพย์ของเนเพิ่มขึ้นด้วยสำหรับการลงทุนนั้นไม่ว่าจะเป็นที่ดินอาคารหรือว่าอื่นๆก็จะทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันและอีกด้านก็มีการเพิ่มขึ้นสำหรับสมการบัญชื่อจะใช้เครื่องหมาย เท่ากับ (=)ในการแบ่งเป็นสองด้านโดยทั้งสองด้านจะใความเท่ากันเรียกว่าสมการบัญชีหรือว่าสมการงบดุลจากงบดุลหรือว่างบแสดงฐานะการเงินแล้วจะประกอบไปด้วยสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันคือเมื่อเราได้นำสิ่งที่มีมูลค่ามาอีกฝั่งจะมีมูลตามไปด้วยอย่างเช่นเมื่อเรากู้เงินมาหนี้สิ้นเราเพิ่มขึ้นเราได้เงินสินทรัพย์ของเราก็เพิ่มขึ้นไปด้วยเช่นกันหาดเราขายของได้แล้วได้มาก็ทำให้สินทรัพย์เราเพิ่มและก็ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นด้วยจึงเท่ากัน สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)Assets=Liabilities + Eguity ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสินทรัพย์จะอยู่ด้านซ้ายและเท่ากับหนี้สินและส่วนของเจ้าของอยู่ด้านขวามือจะต้องมีความเท่ากัน หากมีผลกระทบก็จะเป็นการกระทบไปทั้งสองด้านด้วยกัน ยกตัวอย่างกู้เงินจากธนคารมาลงทุน 500,000 บาท ก็จะทำให้หนี้สินเพิ่มขึ้นและก็มีสินทรัพย์ที่เป็นเงินเพิ่มขึ้นด้วยส่วนของเจ้าของนั้นไม่ได้เพิ่ม สินทรัพย์=หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)500,000 =500,000 + ส่วนของเจ้าของ (ทุน) สมการบัญชีนั้นเนื่องจากการดำเนินการไปนั้นจะมีเหตุการณ์ที่มีรายรับและราบจ่ายเกิดขึ้นกังนั้นจะต้องมีการหากกำไรและขนาดทุนกับรายได้และรายจ่ายที่เกิดของกิจการดังนั้นสมการจึงเป็นดังนี้ สินทรัพย์=หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ(ทุน) + (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) กู้เงิน

งบดุล (Balance Sheet) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน

               งบดุล (Balance  Sheet) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน  คือรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อฐานะการเงินของกิจการณขณะใดขณะหนึ่งโดยทั่วไปจะแสดงข้อมูลสิ้นสุดวันใดวันหนึ่งโดยจะแสดงถึงข้อมูลต่างๆ ดังนี้ ทรัพยากรต่างๆที่กิจการเป็นเจ้าของหรือมีอยู่มีจำนวนเท่าใดประกอบด้วยอะไรบ้าง ภาระผูกพันต่อบุคคลภายนอกมีจำนวนเท่าใดประกอบด้วยอะไรบ้าง ส่วนของเจ้าของกิจการมีจำนวนเท่าใดประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งงบดุลจะประกอบไปด้วย1.สินทรัพย์2.หนี้สิน3.ส่วนของเจ้าของหรือส่วนของผู้ถือหุ้น งบดุลมีรูปแบบอยู่ 2 แบบคือ แบบบัญชี(Account Form)เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์ไว้ด้านซ้ายส่วนด้านขวาเป็นข้อมูลหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตัวอย่าง ให้สังเกตว่างบดุลข้างต้นนี้จะแสดงชื่อกิจการชื่อของรายงานและวันที่ของงบดุลโดยแสดงสินทรัพย์ 600,000ไว้ด้านหนึ่งหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ด้านหนึ่งรวม 600,00เท่ากันไว้อีกด้านหนึ่งงบดุลอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่างบแสดงฐานะการเงิน แบบรายงาน(Report form)เป็นรูปแบบที่รายงานสินทรัพย์อยู่ส่วนบนสำหรับหนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ส่วนล่างของรายงาน สำหรับหมวดหมู่ในงบดุลผู้ทำรายการจะต้องรู้จักความหมายของแต่ละหมวดหมู่ซึ่งมีดังต่อไปนี้ สินทรัพย์คือสิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ซึ่งเกิดจากการประกอบการและสามารถแสดงเป็นตัวเงินสามารถที่จะให้ประโยชน์ในอนาคตซึ่งแบ่งออกเป็น – สินทรัพย์หมุนเวียนหมายถึงเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปีหรือ1 รอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการเช่นเงินสดเงินฝากธนาคารลุกหนี้ที่สามรารถชำระภายในรอบระยะเวลาบัญชีสินค้าคงเหลือรวมไปถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าอื่นๆเช่นค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า – สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีหรือ 1รอบระยะบัญชีของกิจการซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากและมีความถาวรเช่นอาคารที่ดินรวมไปถึงเงินลงทุนในบริษัทอื่นๆที่ลงทุนในระยะยาว การจัดเรียงสินทรัพย์ในงบดุลหลักการโดยทั่วไปในการจัดลำดับก่อนและหลังนี้พิจารณาการจัดลำดับของสภาพคล่องตัวที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด (Liquid) ได้ง่ายที่สุดไว้เป็นอันดับแรกแล้วจึงตามด้วยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดน้องกว่าไปตามลำดับ หนี้สินคือ พันธะผูกพันที่บุคคลภายนอกได้แก่เจ้าหนี้มีต่อกิจการอันเกิดจากรายการทางธุรกิจการกู้ยืมหรือจากเหตุการณ์อื่นๆที่จะต้องชำระคืนในภายหน้าด้วยสินทรัพย์หรือบริการตัวอย่างของหนี้สินของหนี้สินเช่นเจ้าหนี้การค้าเจ้าหนี้เงินกู้ตั๋วเงินจ่ายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ – หนี้สินหมุนเวียน คือ พันธะผูกพันที่ต้องมีการจ่ายชำระคืนแก่เจ้าหนี้ไม่เกิน 1 ปีหรือในรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการเช่นเจ้าหนี้ทางการค้าค่าใช้จ่ายค้างจ่าย – หนี้สินระยะยาวคือ หนี้สินที่มีกำหนดชำระมากกว่า 1 ปีหรือเกินกว่าระยะเวลาการปฏิบัติงานตามปกติของกิจการเช่นหุ้นกู้เงินกู้ระยะยาว+ … Read more

งบกำไรสะสม (Retained Earning)

เป็นงบซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมที่เกิดขึ้นระหว่างงวดบัญชีทำหใทราบว่าในการดำเนินงานมีผลกำไรเกิดขึ้นเท่าไหร่จ่ายเงินปันผลเท่าไหร่กำไรสะสมยกมาในวันต้นปีและกำไรสะสม ณ วันต้นปีดังตัวอย่าง

งบกำไรขาดทุน (Income Statement)

งบกำไรขากทุนเป็นงบหรือรายการที่แสดงถึงการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งอาจจะเป็น 1 ปี3 เดือน 6 เดือนแล้วแต่กิจการนั้นๆได้กำหนดไว้ถ้าหากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก็จะเป็นกำไรแต่ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายก็จำกลายเป็นขาดทุนนั้นเอง ส่วนประกอบของงบกำไรขาดทุน รายได้(Revenue)หมายถึงผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้านั้นๆซึ่งเกิดจากการคำนวณที่แน่นอนของจำนวนเงินและยังรวมไปถึงรายได้จากการลงทุนการแลกเปลี่ยนสินค้าดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเช่นกันโดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1.1 รายได้โดยตรงเป็นรายได้สัมพัธุ์โดยตรงหรือเกิดจากการดำเนินงานโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการขายสิ้นค้าหรือบริการค่างๆของกิจการ 1.2รายได้อื่นๆเป็นรายที่นอกจากรายได้โดยตรงเช่นเกิดจากขายสินทรัพย์ ค่าใช้จ่าย (Expenses)คือต้นทุนสินค้าหรือบริการที่กิจการได้จากไปเพื่อจ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้และจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดจากการดำเนินการเพื่อนำสินค้ามาขาย กำไรสุทธิ (ขาดทุนสุทธิ) หมายถึงส่วนที่เกิดจากรายได้ที่มากกว่าค่าใช้จ่ายในระยะรอบบัญชีนั้นๆแต่ถ้าหากค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ก็ถือว่าขาดทุนสุทธินั้นเอง ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน

การวัดมูลค่าคือการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลและงบกำไรขาดทุนการวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆในสัดส่วนที่แตกต่างกันในลักษณะที่ไม่เหมือนกันซึ่งเกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆมีดังต่อไปนี้ 1.ราคาทุนเดิน (HistoticalCost) หมายถึง 1.1การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือ 1.2บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณเวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น 1.3การบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือ 1.4บันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดการดำเนินงานตามปกติของกิจการ 2.ราคาทุนปัจจุบันหมายถึง 2.1การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน 2.2การแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระผูกพันในขณะนั้น 3.มูลค่าที่จะได้รับหมายถึง 3.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขายสินทรัพย์โดยใช่การบังคับขาย 3.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้กินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ มูลค่าปัจจุบันหมายถึง 4.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการและ4.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระเงินสินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน ทฤษฏีแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุนเป็นแนวคิกทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งแม่บทการบัญชีนำมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลกำไรโดยพิจารณาส่วนของทุนของกิจการ             1.แนวคิดเกี่ยวกับทุน                      แนวคิดเกี่ยวกับทุนเป็นแนวคิดทางการเงินที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันและแนวคิดทางการผลิตซึ่งทั้ง 2แนวคิดถูกใช้เป็นแนวทางในการจัดการงบการเงินโดยนำแนวคิดเกี่ยงกับทุนที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำงบการเงินโดยคำนึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลักโดย แนวคิดที่กิจการควรนำมาใช้ เมื่อผู้ใช้งบการเงินให้ความสนใจเกี่ยวกับ 1. แนวคิดทางการเงิน 1. การรักษาระดับของทุนที่ลงไปในรูปของตัวเงินหรือในรูปของอำนาจซื้อ 2. แนวคิดทางการผลิต 2. กำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิต แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนให้ความสำคัญคำนิยามที่กิจการกำหนดเกี่ยวกับทุนที่กิจการต้องการรักษาระดับซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับทุนกับกำไรเพื่อกำหนดจุดอ้างอิงในการวัดผลกำไรซึ่งแนวคิดนี้ใช้เป็นพื้นฐานในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง 2.1 ผลตอบแทนจากการลงทุน(ซึ่งเป็นผลตอบแทนเกินทุนที่ลงไป) 2.2 ผลที่ได้รับจากเงินลงทุน (ซึ่งเป็นผลที่ได้รับไม่ว่าจะเกินทุนหรือไม่) … Read more

เกี่ยวกับงบการเงิน

ข้อมูลทางบัญชีมีประโยชน์ต่อบุคคลทั้งหลายฝ่ายด้วยกันและจะมีประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นในอนาคตเมื่อธุรกิจขยายใหญ่โตขึ้นผู้ที่มีส่วนได้เสียจะเพิ่มมากขึ้นผู้บริหารย่อมจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้บริหารจะต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินเพื่อที่บผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อนำมาใช้วางแผนในอนาคตนอกจากนั้นผู้ทำบัญชีต้องการทราบฐานะทางการเงินของกิจการให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งได้แก่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นซึ่งต้องการทราบฐานะของกิจการและประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารเจ้าหนี้ผู้ซึ่งต้องการทราบความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ของกิจการรัฐบาลต้องการทราบข้อมูลเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและเพื่อเก็บภาษีเป็นต้นถ้าผู้บริหารต้องจัดทำงบการเงินแต่ละชุดเพื่อสนองความต้องการของบุคคลแต่ละฝ่ายย่อมทำให้เกิดความสับสนในความเชื่อถือได้ของข้อมูลเพราะผู้ใช้งบการเงินอาจเกิดความไม่แน่ใจว่างบการเงินชุดใดจะตรงตามวัตถุประสงค์ของตนอาจจะต้องของบการเงินที่ทุกชุดมาประกอบการพิจารณาก็เป็นได้ดังนั้นโดยหลักการการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปแล้วงบการเงินที่เสนอต่อบุคคลภายนอกจึงทำขึ้นชุดเดียวเพื่อนำไปใช้สนองความต้องการของบุคคลภายนอกทุกฝ่ายงบการเงินจึงเป็นข้อมูลทางการเงินที่สำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายจะได้นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน          การจัดทำรายงานทางการบัญชีแสดงข้อมูลซึ่งเป็นผลมาจากการประกอบธุรกิจของหน่วยงานต่างๆที่สำคัญๆอาจจัดเป็นงบการเงินซึ่งประกอบด้วยงบดุลงบกำไรขาดทุนงบกำไรสะสมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน แผนภาพแสดงถึงการไหลของรายการค้าไปสู่งบการเงิน งบการเงินแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆคือ 1.งบดุล (Balance Sheet) 2.งบกำไรขาดทุน(IncomeStatement) 3.งบกำไรสะสม(Statementof Retained Earnings) 4.งบกระแสเงินสด (Statementof CashFlows) 5.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในของผู้ถือหุ้น(StatementofChanger inSharaholders’ Equity) ที่มา : ผจงศักดิ์หมวดสง.หลักการบัญชี.กรุงเทพ,มหาวิทยาลับศรีนครินทร์วิโรฒ

องค์ประกอบของงบการเงิน

องค์ประกอบของงบการเงินเป็นรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีตามลักษณะเชิงเศรษฐกิจซึ่งนำมาจัดประเภทและแสดงไว้ในงบการเงินโดยสามารถสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดฐานะการเงินในงบดุลได้แก่สินทรัพย์หนี้สินและส่วนขอเจ้าของ องค์ประกอบซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวัดผลการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนได้แก่รายได้และค่าใช้จ่าย ส่วนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินจะสะท้อนถึงองค์ประกอบในงบกำไรขาดทุนและการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในงบดุลอยู่แล้ว คำนิยามขององค์ประกอบงบการเงิน สินทรัพย์ 1.ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ2.ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต3.ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต หนี้สิน 1.ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ2.ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต3.ซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ส่วนของเจ้าของ 1.ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว รายได้ 1.การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือง2.การเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือ3.การลดลงของหนี้สิน4.อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ค่าใช้จ่าย 1.การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือ2.การลดค่าของสินทรัพย์หรือ3.การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน4.อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลงทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้ส่วนร่วมในของส่วนเจ้าของ ที่มา : สุชาติเหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ,สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2563

การรับรู้องค์ประกอบของงบการเงิน

การรับรู้รายการ หมายถึงการรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบดุลและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรัยรู้รายการซึ่งรับรู้รายการเมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ 1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการดังกล่าวจะเข้าหรือออกจากกิจการ 2.รายการดังกว่ามีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ เงื่อนไขข้อแรก “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”              เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการโดยระดับความแน่นอนแบ่งเป็นความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (Prob < 50%)ความเป็นไปได้พอสมควร (Prob = 50%)และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (Prob > 50%) และเมื่อรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นมีความน่าจะเป็นสูงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่รายการดังกล่าวถือว่าเข้าเงื่อนไขข้อแรก                เงื่อนไขข้อสอง “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”                     เมื่อผ่านเงื่อนไขข้อแรกแล้วต้องพิจารณาเงื่อนไขข้อที่สองว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้วกิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงินแต่กรณีถ้ารายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการกิจการควรเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินหรืออธิบายเพิ่มเติมหากรายการนั่นเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ หลักการรับรู้รายการในงบดุลและงบกำไรขาดทุน การรับรู้สินทรัพย์ 1.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ2.สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้หนี้สิน 1.มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและ2.มูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายได้ 1.เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ2.การลดลงของหนี้สินและ3.สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้ค่าใช้จ่าย 1.เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลงเนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือ2.การเพิ่มขึ้นของกนี้สินและ3.สามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ ที่มา : สุชาติเหล่าปรีดา.หลักการบัญชี 1 .กรุงงเทพฯ:สนพ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2563