การปรับปรุงรายการบัญชี

   กิจการได้ดำเนินงานต่างๆ  ผลของการดำเนินการจะดูที่งบกำไรขากทุน  และฐานะทางการเงินก็จะดูได้จากงบแดงฐานะการเงินซึ่งเป็นรายงานทางการเงินที่กิจการต้องมี  การที่เราจะรับรู้ได้นั้นจะต้องนำรายการมาผ่านกระบวนการทางบัญชี  เพื่อให้ได้รายงานทางการเงินเป็นบทสรุป  ดังนั้นแล้วเราจะเป็นที่จะต้องกำหนดระยะเวลาในการสรุปในรอบเวลานั้นเรียกว่า “งวดบัญชี”  เพื่อให้การดำเนินงานของกิจการได้สรุปผลออกมาและนำข้อมูลที่ได้จากรายงานทางการเงินกำหนดการบริหารในอนาคต  รวมถึงการคิดค่าภาษีเงินได้ที่ต้องชำระอีกด้วย  แต่มีบางรายการที่ได้เงินหรือค้างชำระตามงวดนั้นไม่ได้เป็นจริงตามระยะเวลาของงวด  ซึ่งในเกณฑ์คงค้างจะต้องทำการปรับปรุงเมื่อสินงวดการปรับปรุงรายการบัญชี  จะใช้ในกิจการที่ใช้เกณฑ์คงค้าง  โดยการนำงบทดลองที่ได้จากการปิดบัญชีแล้วนั้นเรียกว่างบทดลองก่อนปรับปรุง  หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงบางรายการที่ไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาในงวดบัญชี  เราต้องมีการปรับปรุงให้คำนึงถึงระยะเวลาไม่ต้องใช้เงินสดแต่มีความแน่นอนว่ารายการจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต  รายการปรับปรุงจะต้องทำทุกสิ้นงวด  หลังจากปรังปรังแล้วจะกลายเป็นงบทดลองหลังปรับปรุงก่อนที่จะไปแสดงในยอดงบกำหรขากทุนและงบแสดงฐานะทางการเงิน  ซึ่งจะทำในกระดาษทำการ ได้รับค่าบริการทำความสะอาดล้วงหน้า 5,000 บาท เป็นค่าทำความสะอาด  4 เดือนได้รับในวันที่ 1 พฤศจิกายน  เมื่อสิ้นงวดในเดือนธันวาคมจะพบว่า 5,000 บาทเป็นจ่ายใช้จ่ายในระยะเวลา 4 เดือนและเป็นค่าใช้จ่ายในเดือนงวดถัดไปอีกด้วยดังนั้นแล้วสิ้นงวดแล้วจะต้องตัดจำนวนให้เป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาของวด  เพื่อที่เราจะได้รับรู้ยอดเงินนำไปปรับปรุง                 รายการปรับปรุง (Adjusting Entries) เป็นการปรับปรุงยอดบัญชีที่เป้ฯทั้งรายได้และจ่ายใช้จ่ายในงวดบัญชีให้ถูกต้องตามเกณฑ์คงค้างโดยรายการที่ต้องปรับปรุง 7 รายการคือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า รายได้ค้างรับ วัสดุสำนักงานใช้ไป ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเสื่อมราคาสะสม 1.ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)    ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า  คือ กิจการได้ชำระค่าใช้จ่ายไปแล้วในงวดบัญชีปัจจุบัน  แต่กิจการยังไม่ได้รับประโยชน์จากที่ได้ใช้จ่ายไป  ตัวอย่างเช่น  ค่าเช่าล่วงหน้า  เงินเดือนจ่ายล่วงหน้า  ค่าทำความสะอวดจ่ายล่วงหน้าในการปรับปรุงนั้น  ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจะแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน  และส่วนที่เหลือจะเป็นของงวดถัดไป  ซึ่งส่วนที่เหลือจะเป็นลักษณะของลูกหนี้ที่อยู่ในหมวกสินทรัพย์หมุนเวียนจะแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วย  โดยจะมีการลงบัญชีได้ 2 … Read more

เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี

ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ                 1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic)  เป็นการบันทึกรายการค้าต่างๆ  ให้อยู่ในระยะเวลาที่เกิดขึ้นในงวดของบัญชีนั้นๆ  โดยค่าใช้จ่ายหรือรายได้จะรับเป็นเงินสดหรือไม่ต้องการ  โดยหลักที่ว่ามีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนแล้วว่าจะได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในอนาคต  สามารถวัดมูลค่านั้นได้เอาง่ายๆ  คือหลักเกณฑ์ที่ว่านี้ให้หลักของเวลาเป็นหลัก  โดยไม่คำนึงถึงเงินสดว่าจะได้รับหรือไม่ก็ได้  ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายจะต้องอยู่ในงวดบัญชีนั้น  เกณฑ์ดังกล่าวจึงสามารถที่จะค้างได้เพราะไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดนั้นเองตัวอย่าง  จ่ายค่าเช่าอาคารในวันที่ 1 ตุลาคม  12,000 บาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปีรายการค้าตามตัวอย่างหมายถึงเราได้จ่ายเงินให้กับเจ้าของไปแล้ว 12,000 บาท  แต่พอถึงเวลาสิ้นงวดหรือสินปี  ซึ่งในเกณฑ์คงค้าง  ในเดือนธนวาคม  แสดงว่าเราจ่ายไปเป็นค่าเช่า 3 เดือน  ตุลาคม – ธันวาคม เท่านั้น  ส่วนที่เหลือยังไม่ได้จ่ายจึงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้านั้นข้อดีของเกณฑ์นั้นมีข้อดีคือ  ให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์โดยใช้เวลาเป็นหลักทำให้ได้ข้อมูลเทียบกับระยะเวลาที่แท้จริงกับเงินสดของกิจการทั้งที่จะได้จ่ายและได้รับในอนาคต                 2.เกณฑ์เงินสด (Cash Basic) เป็นการบรรทุกรายการค้าโดยไม่คำนึงถึงเวลา  แต่จะบันทึกทั้งหมดเมื่อได้จ่ายหรือได้รับเงินสดเท่านั้นตัวอย่าง รับค่าบริการทำความสะอาดมา 30,000 บาทเป็นค่าใช้บริการในระยะ 1 ปี  โดยได้รับในวันที่ 1 กันยายนเกณฑ์เงินสดก็จะรับรู้ว่าเป็นรายได้ทันที 30,000 ในปีนั้นทั้งหมดเลย  โดยไม่ค้างไว้ในปีต่อไป                 ดังนั้นแล้วการใช้เกณฑ์เงินสดหากคำนวณรายได้ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไร- ขาดทุนั้นจะไม่สามารถได้ยอดที่ตรงในระยะเวลาที่เป็นจริง  จึงทำให้บางงดมีกำไรน้อย  บางงวดมีกำไรมากจึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน  เกณฑ์คงค้างจะอยู่ในระยะเวลาที่ถูกต้องกว่าโดยจะต้องทำการปรับปรุงหลังจากที่ได้งบทดลองแล้ว

บัญชีแยกประเภท

สำหรับสมุดบัญชีแยกประเภทนี้เป็นสมุดบัญชีขั้นปลายที่ต้องผ่านมาจากบัญชีรายวันขึ้นต้นเสียก่อนซึ่งเป็นสมุดขั้นต้น  ดังนั้นแล้วการบันถึงบัญชีจากผ่านบัญชีนั้นจะต้องอยู่ในประเภทเดียวกัน  ซึ่งแต่ละประเภทจะมีชื่อบัญชีที่เราได้จัดตั้งและแบ่งหมวดหมู่เอาไว้  หลังจากเราได้ทำรายการค้ามาจากสมุดรายวันขั้นต้นแล้วผ่านมาสมุดบัญชีแยกประเทภจะมีการหายอดคงเหลือก่อนสุดท้ายจะจัดทำงดทดลองเพื่อหายอดดุลนั้นเอง  สมุดบัญชีจะแยกประ  สินทรัพย์  หนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ  รายได้  ค่าใช้จ่าย  หรือจะเป็นการแยกย่อยลงไปอีกตามหมวดหมู่ก็ได้แต่การเรียนการสอนบัญชีทั่วไปจะเป็นบัญชีรูปตัว T ที่เคยกล่าวไว้แล้วลัษณะจะมีการบัญทึกคล้ายกันแต่ว่าต่อไปนี้จะเป็นจัดบัญชีมาตรฐานมากขึ้นกว่า  โดยมีการแบ่งประเภทของบัญชีแยกประเภทคือ  แบบมาตรฐาน  และแบบยอดคงเหลือ  ดังตัวอย่างตามรูป แบบมาตรฐานเลขที่…. วัน เดือน ปี รายการ หน้าบัญชี เดบิต วัน เดือน ปี รายการ หน้าบัญชี เครดิต ตามรูปแบบที่แสดงทั้งหมดมี 8 ช่อง  จะมีการแบ่งเป็นสองด้าน  บ้านเดบิตและด้านเครดิตเหมือนกัน  ช่องแรงจะวันเดือนปีเป้นเวลาสำหรับรายการโดยจะตรงกับสมุดรายวันทั่วไป  รายการ  หน้าบัญชี  เป็นการระบุหน้าของสมุรายวันทั่วไปที่ได้นำรายการมาบันทึกไว้  ช่องเดบิตและเครดิตมีไว้สำหรับใส่จำนวนเงินที่ได้นำมาจากสมุดรายวันทั่วไป  โดยทั่วไปบัญชีสินทรัพย์จะมียอดคงเหลือทางด้านเดบิต  ส่วนบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของจะมียอดคงเหลือทางด้านเครดิต  แล้วดานบนขวาจะเป็นเลขที่บัญชีที่เราได้จัดหมวดหมู่ไว้  ซึ่งจะแสดงวิธีทำต่อไป แบบยอดคงเหลือ เลขที่…. วัน เดือน ปี ราการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต ยอดคงเหลือ จะเห็นว่ามีช่องสำหรับการลงรายการเดียวเท่านั้นส่วนยอดเดบิตและเครดิตก็จะย้ายไปอีกฝั่งและอยู่ติดกัน  ช่องสุดท้ายจะเป็นช่องสำหรับยอดคงเหลือซึ่งจะมีการคำนวณยอดคงเหลือไว้ที่ช่องนี้ทุกรายกาย  ทำให้เราทราบยอดคงเหลือได้ทุกคั้ง  … Read more

การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป (Journalizing)

สมุดรายวันทั่วไป      นั้นได้กว่าเรื่องเกี่ยวกับสมุดขั้นต้นไปแล้ว  ตอ่ไปนี้เราจะต้องนำรายการค้าที่เกิดขึ้นมาบันทึกในสมุดรายวันให้ถูกต้องในทุกๆ รายการนั้นเป็นอย่างไร  จากที่เราได้ทราบเรื่องการการวิเคราะห์รายการบัญชีมาแล้ว  ว่าอะไรมีผลอย่างไรกับรายการ  และในแต่ละรายการนั้นเดบิตเครดิตอย่างไร  มาถึงขั้นตอนนี้เราต้องสามารถที่จะทำการ เดบิต  เครดิต  ให้แล้ว  เพราะว่าขั้นตอนนี้จะมีการลงรายการมีเดบิตเครดิตขั้นตอนในการบัญทึกบัญชีรายวันทั่วไป1. ให้ทำการเขียนหัวเรื่องของบัญชีว่า  เป็นของบัญชีอะไร  กิจการของใคร  และระบุเลขที่หน้า  เพื่อเป็นการง่ายงนการค้าหากและช่วยให่สามารถเรียงลำดับให้ถูกต้องเพื่อมีการฉีกขาด2. ทำการวิเคราะห์รายการ  วิเคราะห์ว่าเป็นรายการบัญชีใด  เดบิต  และเครดิต  เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่  และยอดรวมของทั้งสองจะต้องเท่ากัน  ตามที่เราได้รับทราบในระบบบัญชีคู่มาแล้ว3. เขียนวันที่ของรายรายการในช่อง  วัน เดือน ปี  โดยให้ลงปีก่อนให้อยู่บนสุด หลังจากนั้นลงเดือน  แล้วค่อเป็นวันที่  ถ้าเดือนเดียวกันในวันถัดมาไม่ต้องเขียนซ้ำ4. ให้ลงรายการในช่องของรายการบัญชี  โดยให้ลงเดบิตเป็นอันดับแรก  แล้วให้ชิดขอบทางด้านซ้าย  พร้อมลงจำนวนเงินในช่องของเดบิตให้ตรงกับรายการ  และให้หลักหน่วยนั้นชิบของด้านขวาเสมอ  ลงรายการด้านเครดิต  ให้เยื้องทางจากขอบด้านซ้ายและเดบิตมาระยะพอสมควร  และทำการลงจำนวนเงินด้านเครดิตให้ตรงกับรายการ5. ทำการอธิบายรายการให้ได้ใจความและควรให้พอดีกับบรรทัด 1 บรรทัด ให้มีใจความกระชับพอเข้าใจได้ และให้ทำการขีดเสินเพื่อให้จบรายการนั้นๆ ตัวอย่างการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปกิจการนาย สมชาย  เป็นกิจการ  ทำความสะอาดและจัดตกแต่งสวน ตามบ้านเรือน  มีชื่อว่า  สมชายตามสะอาด  โดยมีรายการที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน … Read more

สมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีขั้นต้น (General Journal,Book of Original Entry)

สมุดรายวันทั่วไป มีความสำคัญตอนนี้เราคงศึกษาวงจรบัญชีแล้วว่าต้องมีการบัญทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น  ซึ่งเป็นสมุดรายวันทั่วไป ที่เราจะทำการศึกษาและเป็นสมุดที่นิยมใช้ได้ทั่วไป ก่อนนั้นเราได้ศึกษาการวิเคราะห์บัญชีแล้วนำมาผ่านบัญชีแยกประเภทแบบง่ายหรือว่ารูปตัว T ไปแล้ว  ในรายการค้านั้น  การจดบัญทึกในขั้นต้นไม่จำเป็นต้องลงแยกประเภทอก่อน  แต่เราจะทำการรวมไว้ในบัญชีขั้นต้นก่อนเสมอ  หากเรานำไปเป็นบัญชีแยกประเภทเลยอาจจะทำให้เสียเวลา  เพื่อความสะดวกในการจดบัญทึกในบัญชีขั้นต้นก่อนและจึงไปแยกประเภทเป็นขั้นตอนไป สมุดบัญชีขั้นต้น  คือ  สมุดบัญชีที่ใช้สำหรับการบัญทึกรายการค้าแต่แรกเริ่มของกระบวนการบัญชี  ก่อนที่จะนำไปยังบัญชีแยะประเภทเพื่อรวบรวมรายการค้าต่างๆ  ของกิจการในขั้นต้นโดยไม่ได้แยกบัญชีเป็นการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป  หลังจากที่ได้บัญทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้ว  ก็จะมาผ่านขั้นตอนบัญชีแยกประเภทเพื่อเป็นการจัดบัญชีที่มีความเกี่ยวข้องกับประเภทนั้นสมุดรายวัน  เป็นสมุดบัญชีขั้นต้นที่ใช้บัญทึกรายกการค้าโดยไม่ได้ทำการแยกประเภท  นั้นก็คือรายการค้าที่เกิดขึ้นจะเป็นการบันทึกรวมไปทั้งหมดก่อน  โดยจะต้องทำการวิเคราะห์ว่าเดบิต  เครดิต บัญชีอะไรบ้าง  โดยทำการเรียกลำดับเหตุการณ์เป็นวันที่  รวมไปถึง  รายการปิดบัญชี เปิดบัญชี  กลับบัญชี ด้วย และเป็นที่นิยมใช้กัน  และสมุดรายวันสามารถแบ่งไปเป็น 2 ประเภท  ดังนี้ 1. สมุดรายวันทั่วไป (General  Journal) สมุดรายวันทั่วไป  เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าของในแต่ละวันทั้งหมดโดยไม่ได้แยกออกเป็นบัญเฉพาะรายการ  เพราะฉะนั้นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปสามารถที่จะจดบันทึกได้ทุกรายการ  และรายการที่ไม่สามารถที่จะบันทึกในสุดรายวันเฉพาะได้  อย่างเช่น  การเปิดบัญชี  การปิดบัญชี  ปรับปรุงรายการ  และรายการอื่นๆ  ที่ไม่สามารถบันทึกในสมุดรายการเฉพาะได้  สมุดรายวันทั่วไปสามารถที่จะใช้กับกับกิจการทุกขนาด  เพราะว่ามีความจำเป็นแม้กระทั่งมีสมุดรายวันเฉพาะแล้วก็ตาม  ตัวอย่างรูปแบบสมุดรายวันทั่วไปเป็นดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป                                                  หน้าบัญชี… … Read more

งจรบัญชี (Accounting Cycle)

วงจรบัญชี  คือลำดับขั้นตองในกระบวนการทำบัญชีงบการเงินตั้งแต่เริ่มต้นในการทำบัญชีไปจนสิ้นสุดของการทำบัญชี                  วงจรบัญชีเป็นการแสดงถึงขั้นตองการบัญชีตั้งแต่การเริ่มบันทึกรายการค้าไปจนถึงการได้งบการเงินเป็นรายงานออกมาเป็นไปตามรอบระยะบัญชีที่ทางกิจการได้กำหนดไว้ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการของวงจรบัญชีนั้นจะมีอยู่ 9 ขั้นตอนด้วยกันหากผู้ที่ต้องการทำบัญชีแล้วการศึกษาวงจรบัญชีจะทำให้เข้าใจการขั้นตอนได้ง่ายและนำไปสู่การเรียนรู้ของการทำบัญชีให้ประสบผลสำเร็จสำหรับขั้นตอนการบัญชีหรือวงจรการบัญชีมีทั้งหมด 9 ขั้นตอนดังนี้1. จดบันทึกรายการค้า2. บันทึกในสมุดบัญชีขั้นตอนหรือว่าสมุดรายวันขั้นต้น3. สมุดบัญชีแยกประเภท4. การทำงบทดลอง5. ปรับปรุงบัญชีในกระดาษทำการ6. การจัดทำงบการเงิน7. ปรับปรุงรายการบัญชี8. การปิดบัญชีขั้นต้น9. จำทำงบทดลองหรือว่าเปิดรายการบัญชี สามารถได้ตามรูปได้ดังนี้ วงจรบัญชีนั้นเริ่มด้วยการจดบัญทึกจาการค้าด้วยการวิเคราะห์รายการค้าแล้วนำมาบันทึก   หลังจากนั้นเราการนำมาวิเคราะห์กับสมุดบัญชีขั้นต้นที่รวบรวมรายการทั้งหมด  แล้วนำไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท  ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำบัญที่มีในสมุดบัญชีขั้นต้นมาแยกเป็นประเภทออกในแต่ละบัญชี  จากนั้นก็นำยอดที่ได้จากการปิดบัญชีสิ้นงวด  หากไม่สินงวดก็ต้องนพยอดไปยังรายการค้าใหม่อีกครั้ง  หากเป็นรายการที่สิ้นงวดแล้ว ก็มาจัดทำงบทดลองต่อ  ซึ้งขั้นตอนนี้จะเป็นการผ่านเพื่อความถูกต้องก่อนถึงขั้นตอนการปรับปรุง  ขั้นตอนการปรับปรุงซึ่งจะทำการปรับปรุงในกระดาษทำการ  หลังจากนั้นจะมีรายการที่สรุปได้ออกเป็นงบการเงินเพื่อรายงาน  และส่วนที่ไม่ได้เป็นงบการเงิน  จะทำการปรับปรุงแล้วปิดบัญชี   หลังจากนั้นจะได้งบทดลองหลังปิดบัญชี  ซึ่งจะทำไปในรวยการค้าในงดต่อไปอีก  จะเป็นลักษระที่วนไปจนกว่าจะเป็นงบการเงินตามรอบหรือระยะการบัญชีของงวดนั้น

ผังบัญชี (Chart of accounts)

สำหรับผังบัญชีนั้น  คือ  การแสดงจำแนกของบัญชีในและละบัญชีออกเป็น หมวดหมู่  โดยนิยมใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับของบัญชีหรือตัวอักษร  การจำแนกแล้วแต่กิจการจะดำเนินในการจัดหมวหมู่  สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ตามความเหมาะสมในแต่ล่ะที่เมื่อกิจการของเราได้มีขนาดใหญ่หรือว่าขนาดเล็ก  การจำแนกของบัญชีออกเป็นหมวดหมู่  ออกเป็นประเภทนั้นมีความสำคัญสำหรับกิจการที่ใหญ่มากขึ้น  และ  กิจการที่มีต้องการความสะดวกในการบันทึกบัญชีโดยเฉพาะในงบทดลองหรือว่าบัญชีอื่นๆ  ให้ง่ายและป้องกันความสับสนส่งผลทำให้ระบบบัญชีมีความเป็นระเบียดด้วย  โดยพาะในกิจการที่มีรายการมาก  การค้าหาบัญชีจะได้ง่ายขึ้น และด้วยปัจจุบันแล้วการทำบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์การใช้ผังบัญชีช่วยให้การทำบัญชีได้ง่านขึ้นและมีความจำเป็นมากสำหรับหลักในการตั้งเลขที่บัญชีนั้น  นิยมใช้ตัวเลข 2 – 3 หลัก แล้วแต่ขนาดของกิจการ  และสามารถที่จะใช้เครื่องหมายหรือว่าตัวอักษรในการใช้เป็นรหัสหรือว่าเลขที่บัญชีได้  โดยให้หลักที่หนึ่งจำแนกเป็นหมดหมู่ใหญ่  แล้วใช้หลักที่ 2 จำแนะหมดหมู่ย่อยลงมา  หากไม่พออาจจะใช้หลักที่ 3 ในการจำแนกออกไปอีก  ซึ่งในหลักสุดท้ายจะเป็นของบัญชีนั้นๆ  ส่วนใหญ่จะแบ่งหมวดมหู่ตามสมการบัญชี  เช่นสินทรัพย์จะใช้หลักที่ 1          เป็นหมายเลข  1หนี้สินจะใช้หลักที่ 1               เป็นหมายเลข  2ส่วนของเจ้าของเจ้าของหลักที่ 1         เป็นหมายเลข  3รายได้ใช้หลักที่ 1                   เป็นหมายเลข  4ค่าใช้จ่ายใช้หลักที่ 1              เป็นหมายเลข  5ตัวอย่างที่แสดงนั้นเป็นตัวอย่างข้างต้น  อาจจะใช้หลักการอื่นก็ได้  อย่างเช่น  ใช้สินทรัพย์หมุนเวียน เป็นหลักที่ 1 ใช้หมายเลข … Read more

การเดบิตและเครติด ในหลักการบัญชีคู่ (Doulble Entry Accounting)

    สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากันอธิบายด้วยว่าบัญชีคู่นั้นเป็นการบันทึกบัญชีทั้งสองด้านในด้านเดบิตและด้านเครดิต ดังนั้นจะต้องลงอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไปในการบัญทึกรายการแต่ละครั้งจะมียอดรวมเท่ากันทั้งสองด้านเสมอแต่จำนวนการบันทึกนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเท่ากันอย่างเช่นจำนวนด้านเดบิต 1 บัญชีแต่อีกด้านคือเครดิต อาจจะ 2 หรือ 3 บัญชีก็ได้หลักการบัญชีคู่นั้นเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเพราะว่าสามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกขนาดโดยการทำความเข้าใจนั้นในขั้นต้นนิยมใช้บัญชีแยกประเภทในรูปตัวที  เพื่อง่ายและสะดวกในการทำความเข้าใจการบันทึกได้ง่ายเดบิตและเครดิตคืออะไรในระบบบัญชีคู่นั้นเดบิตเครดิตจะต้องทราบหลักการให้เข้าใจจึงจะสามารถว่าอะไรที่เดบิตอะไรที่เครดิตในการลงบัญชี               เดบิต (Debit) คือส่วนที่อยู่ด้านซ้าย หรือว่าด้านซ้ายใช้สำหรับบันทึกสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นใช้อักษรย่อ “Dr.”               เครดิต (Credit) คือส่วนที่อยู่ด้านขวาหรือเรียกว่าด้านขวาใช้สำหรับ บันทึกบัญชีหนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้เพิ่มขึ้นใช้อักษรย่อ “Cr.”หากเราได้ทำการบันทึกข้อมูลมีผลต่างยอดคงเหลือถ้ามียอดคงเหลือทางด้านเดบิตเรียกว่า  “ยอดคงเหลือเดบิต”  แต่ถ้ามียอดเหลือทางด้านเครดิตหรือวมากกว่าเดบิตเรียกว่า  “ยอดคงเหลือเครดิต” และโดยทั่วไปแล้วยอดคงเหลือทางสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายมักจะมียอดคงเหลือเดบิตและหนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้มียอดคงเหลือทางด้านเครดิต   เพิ่ม ลด สินทรัพย์ เดบิต เครดิต หนี้สิน เครดิต เดบิต ส่วนของเจ้าของ เครดิต เดบิต รายได้ เครดิต เดบิต ค่าใช้จ่าย เดบิต เครดิต บัญชีที่เราจะใช้เป็นตัวอย่างให้ดูนั้นเป็นบัญชีแยกประเภทแบบ T-Account เพราะว่าเป็นเหมือนรูปตัว T ที่มีหัวแสดงชื่อ … Read more

การวิเคราะห์รายการค้า

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจกับ   รายการค้าและสมการบัญชีไปแล้ว  ว่ามีรายการใดบ้างที่ต้องบัญทึกหรือว่ามับันทึก รวมไปถึงสมการบัญชีเป็นอย่างไร  การวิเคราะห์รายการค้า เป็นการกระบทกับสมการบัญชี  โดยจะทำให้สินทรัพย์  หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร  ดังนั้นแล้วแล้วถ้าเราไม่ทราบการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง  จะทำให้การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามไปด้วย  หากไม่เข้าใจในขั้นตอนนี้  ในขั้นตอนต่อไปเราก็จะทำผิดวิธีและยากขึ้นไปด้วยตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์รายการบัญชี  ของกิจการ  ล้างรถ  ของนายสมชาย  มีชื่อว่า สมชายคาร์แคร์  ดังต่อไปนี้รายการที่ 1 นายสมชายนำเงินมาลงทุน  บริการล้างอัดฉีดรถ  เป็นจำนวนเงิน  2,000,000 บาทสำหรับรายการแรกนั้น  เป็นการนำเงินมาลงทุน  เป็นการทำให้  สินทรัพย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  และในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นด้วย  ทำให้มีเงินจำนวน  2,000,000  บาทเข้ามากิจการ  แต่หนี้สินไม่ถูกกระทบแต่อย่างใด สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของเงินสด  =                     ส่วนของเจ้าของ2,000,000     =                    2,000,000 รายการที่ 2  ซื้ออุปกรณ์ในร้านเป็นจำนวน  500,000 บาท  จ่ายเป็นเงินสดรายการที่ 2  เป็นรายการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์  จากเงินมาเป็นอปุกรณฺสำหรับงาน  หลังจากที่เราได้จ่ายเงินไปแล้ว  เราก็ได้สินทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์นั้นเอง  ไม่ทำให้หนี้สินหรือว่าส่วนของเจ้าของลดลงหรือว่าเพิ่มขึ้น  แต่เงินสดลดลงเหลือ … Read more

รายการค้า (Transaction Or Accounting transaction)

   รายการค้าหมายถึงรายการที่กิจการนำมาบันทึกบัญชีเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำงบการเงินต่างๆซึ่งทางการบัญชีเรียกว่ารายการทางบัญชีเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการโอนหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยของบัญชีหรือบุคคลที่มีผลต่อ สินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงอธิบายได้ว่ารายการค้านั้นเป็นรายการทางบัญชีที่มีการเคลื่อนย้ายละหว่างบัญชีรวมไปถึงบุคคลอื่นๆ ด้วยซึ่งการบันทึกนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลของบัญชีโดยตรงไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตามจะมีการเพิ่มขึ้นหรือว่าสดลงจะทำให้ยอดทั้งสองในสมการบัญชีนั้นมีความสมดุลกันทั้งสองฝั่งแต่ในรายการบัญชีนั้นอาจจะไม่เท่ากันก็ได้อย่างเช่นจะมีการบันทึกทางด้านสินทรัพย์2 รายการและบันทึกทางด้านส่วนของเจ้าของรายการเดียวรายการค้านั้นมีความสำคัญเพราะว่าเป็นการรวบรวมผลการดำเนินการของกิจการในเบื้องต้นก่อนที่จะทำการวิเคราะห์รายการบัญชีสำหรับรายการบัญชี้นั้นจะเป็นการบัญทุกเหตุการ์ต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารที่จะกระทบต่อเงินมีการเปลี่ยนแปลงในงบดุลอย่างเช่น การนำเงินมาลงทุนเป็นการทำให้สินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น และทำให้ส่วนของเจ้าของนั้นเพิ่มขึ้นเช่นกันดังจากที่เราได้ศึกษาทางด้านสมการบัญชีมาแล้วการได้รับค่าสินค้าหรือว่าบริการก็จะทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นและส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นเช่นกันนั้นก็คือตัวอย่างรายการที่มีผลทำให้เกิการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีของกิจการแต่ถ้าไม่มีผลเกี่ยวข้องกับกิจการเช่นพนังงานยืมเงินกันเองหรือว่าเอาเงินเดือนตัวเองที่ได้รับไปแล้วซื้อน้ำมันรถส่วนตัวก็ไม่ไช่รายการค้าเพราะไม่มีผลกระทบทางด้านบัญชีของกิจการเป็นแค่ของส่วนตัวเพราะ๙นั้นรายการจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการทางตรงสามารถที่จะวัดตีเป็นมูลค่าหน่วยเงินตราในทางธุรกิจมีการโอนถ่ายหรือว่าเปลี่ยนแลงของหน่วยบัญชีของทั้งสองและมีความสมดุลยกตัวอย่างรายการที่มีผลกระทบต่อสินทรัพย์หนี้สินและส่วนของเจ้าของนางวนิดานำเงินสดมาลงในกิจการ ร้านเสริมสวยเป็นจำนวนเงิน 600,000 บาทราการดังการจะเห็นได้ว่ามีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นและทุนก้เพิ่มขึ้นเช่นกันซื้อวัสดุสินเปลืองในกิจการเป็นจำนวนเงิน 8,000 บาทนำเงินกู้จากธนคารมาเพิ่ม 100,000 บาทรายการดังกล่าวเป้นรายการที่ทำให้สินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้นและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน              สำหรับการบัญทึกตามรายการค้านั้นจะเป็นในส่วนของการวิเคราะห์ทางการค้า จะนำเสนอไปอีกที่โดยละเอียดแต่ให้รู้และเข้าใจที่ไปที่มาของการเริ่มต้นรายการค้าเพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในการวิเคราะห์รายการค้าดี