อุปสงค์ (Demand) คืออะไร

อุปสงค์  คือ  การเสนอเลือกซื้อสินค้าในปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการ  ในราคาต่างๆ  ในเวลาใดเวลาหนึ่ง  มีความต้องการจงใจที่จะซื้อ  และความสามารถที่จะซื้อในช่วงเวลานั้น
ดังนั้นแล้วจึงเป็นความต้องการที่สามารถ  ซื้อได้จริงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ซึ่งจะต้องมีความต้องอย่างและมีเงินที่จะจ่ายได้
ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
การที่ผู้บริโภคต้องการที่จะซื้อสินค้าหรือบริการในชระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง  จะมีมากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ราคาสินค้าชนิดนั้น
  2. ระดับรายได้ของผู้บริโภค
  3. ราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อ
  4. รสนิยของผู้บริโภค
  5. จำนวนประชากร
  6. การโฆษณา
  7. ช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาล  เป็นต้น

สำหรับปัจจัยดังกล่าวสามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้
ราคาสินค้า  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผู้บริโภค  เนื่องจากต้องการใช้สินค้าทำให้เกิดความพึ่งพอใจสูงสุด  ดังนั้นหากราคาสินค้ามีราคาเพิ่มขึ้น ก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง  แต่ถ้าการาคาสินค้านั้นลดลงก็จะทำให้มีการซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ  อย่างเช่นสินค้าชนิดเดียวกันใช้แทนกันได้อย่างเช่นเนื้อไก่ราคาถูกกว่าเนื้อหมูจะมาซื้อเนื้อไก่แทน  หรือว่าสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกัน
รายได้ของผู้บริโภค  โดยสินค้าทั่วไปนั้นหากรายได้ของผู้บริโภคนั้นสูงก็จะสินค้าจำนวนนั้นมากหากรายได้ของผู้บริโภคน้อยก็จะทำให้เลือกซื้อสินค้านั้นน้อยลงเช่นกัน  ยิ่งเป็นสินสินค้าสิ้นเปืองด้วยแล้วหรืออาจจะไม่ซื้อเลย  แต่หากเป้นสินค้าที่มีความจำเป็นในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันแล้วอาจจะจำเป็นต้องซื้อ
ราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เป็นตัวกำหนดปัจจัย  หากสินค้าที่มีสองชนิดสามารถทดแทนกันได้อาจจะต้องเลือกสินค้าชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าที่สามารถแทนกันได้
รสนิยมของผู้บริโภค สำหรับสรนิยมแล้วมีความต้องการในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง แต่สินค้าชนิดนั้น  และอาจจะไม่นิยมในช่วงระยะเวลาต่อมาก็ได้
จำนวนประชากร  ซึ่งมีความต้องการที่มีน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนและช่วงอายุที่มีความต้องการสินค้าชนิดนั้นๆ  หากมีจำนวนมากก็จะทำให้สินค้าจำหน่ายได้มากขึ้นด้วย
การโฆษณา  การโฆษณาเป็นการประชาสัมพันธ์  ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
ฤดูกาล  ในช่วงของฤดูกาลอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนของการตัดสินใจซื้อสินค้า  อย่างเช่น  พัดลม  เครื่องปรับน้ำอุ่น  ร่ม เป็ฯต้นซึ่งมีความต้องการและความจำเป็นในช่วงฤดูกาลเท่านั้น

ฟังก์ชั่นอุปสงค์  คือสมการที่แสดงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่าปริมาณความต้องการสินค้าของผู้บริโภคที่มีผลกับปัจจัยอื่นๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น  สำหรับการศึกษาในเบื้องต้นนั้น  จะใช้ปัจจัยในการศึกษามาบางตัวเท่านั้น  หากศึกษาในเชิงลึกต้องเข้าใจส่วนนี้ก่อน

โดย Qx = f(Px,Y,Py,T,…) คือระบบความต้องการสินค้าและบริการ

  1. ราคาสินค้าชนิดนั้น(Px)
  2. ระดับรายได้ของผู้บริโภค(Py)
  3. ราคาสินค้าและบริการชนิดอื่นๆที่เกี่ยวข้อ(Pz)
  4. รสนิยของผู้บริโภค(T)
  5. จำนวนประชากร(P)
  6. การโฆษณา(A)
  7. ช่วงระยะเวลาหรือฤดูกาล (S)

โดยมีการแบ่งการศึกษาได้ 3 ส่วนดังนี้
1. อุปสงค์ต่อราคา คือ  ความต้องการซื้อสินค้าชนิดในชนิดหนึ่งที่ผู้ซื้อต้องการซื้อระดับราคาต่างๆ  ในเวลาใดเวลาหนึ่งโดยให้ปัจจัยอื่นๆ  คงนี้  โดยใช้สูตรดังนี้
Qx = f(Px)
2.อุปสงค์ต่อรายได้  คือ  รายได้ของผู้บริโภคมีผลต่อปริมาณการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในระดับราคาต่างๆ  โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่
Qx = f(Py)
3.อุปสงค์ต่อราคาสินชนิดอื่น  คือ ปริมาณสินค้าชิดใดชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้อง  กับผู้ต้องการซื้อสินคเชนิดนั้น  และมีสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องนั้นได้เปลี่ยนแปลง  โดยให้ปัจจัยสินค้าชนิดอื่นนั้นคงที่
Qx = f(Pz)

กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
ปริมาณการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาสินค้าชนิดนั้นเสมอ  ในเมื่อสินค้ามีราคาสูงขึ้นผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าชนินั้นน้อยลง  แลเมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น นั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้าม  โดยที่ปัจจัยอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง  แต่หากว่าสินค้าชนิดอื่นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะสงผลกระทบให้การซื้อมีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน  โดยมีการกำหนดอยู่ 2 สาหตุคือ
1. ผลทางรายได้ที่แท้จริง  ในขณะที่มีรายได้เท่าเดิมจะทำให้การซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลงแต่ถ้าผู้บริโภคมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอาจจะทำให้การซื้อสินค้าชนิดนั้นมากขึ้นเพราะว่าผู้ซื้อมีกำลังการซื้อที่มากขึ้นนั้นเอง
2. สินค้าทดแทนกัน  หากผู้บริโภคจะซื้อสินค้าชนิดนั้นตาราคาสูงขั้นจะทำให้หันมาซื้อสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ที่มีราคาต่ำกว่าและมีทดแทนกันได้  แต่ถ้าสินค้านั้นมีราคราที่สูงขึ้นก็จะทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นมากขึ้นไป

เส้นอุปสงค์ เป็นเส้นที่แสดงถึงความสัมพันธ์  ระหว่างราคาสินค้าราคาสินค้าและปริมาณของผู้บริโภคต้องการซื้อ  มีการกำหนดราคาและปริมาณในระดับต่างๆ  โดยนำข้อมูลจากตางรางดังนี้

ตารางแสดงปริมาณความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าและปริมาณที่ซื้อ

ราคาปริมาณ
106
85
64
43

Leave a Comment