การวิเคราะห์รายการค้า

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจกับ   รายการค้าและสมการบัญชีไปแล้ว  ว่ามีรายการใดบ้างที่ต้องบัญทึกหรือว่ามับันทึก รวมไปถึงสมการบัญชีเป็นอย่างไร  การวิเคราะห์รายการค้า เป็นการกระบทกับสมการบัญชี  โดยจะทำให้สินทรัพย์  หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร  ดังนั้นแล้วแล้วถ้าเราไม่ทราบการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง  จะทำให้การบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องตามไปด้วย  หากไม่เข้าใจในขั้นตอนนี้  ในขั้นตอนต่อไปเราก็จะทำผิดวิธีและยากขึ้นไปด้วย
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการวิเคราะห์รายการบัญชี  ของกิจการ  ล้างรถ  ของนายสมชาย  มีชื่อว่า สมชายคาร์แคร์  ดังต่อไปนี้
รายการที่ 1 นายสมชายนำเงินมาลงทุน  บริการล้างอัดฉีดรถ  เป็นจำนวนเงิน  2,000,000 บาท
สำหรับรายการแรกนั้น  เป็นการนำเงินมาลงทุน  เป็นการทำให้  สินทรัพย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น  และในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นด้วย  ทำให้มีเงินจำนวน  2,000,000  บาทเข้ามากิจการ  แต่หนี้สินไม่ถูกกระทบแต่อย่างใด

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด  =                     ส่วนของเจ้าของ
2,000,000     =                    2,000,000

รายการที่ 2  ซื้ออุปกรณ์ในร้านเป็นจำนวน  500,000 บาท  จ่ายเป็นเงินสด
รายการที่ 2  เป็นรายการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์  จากเงินมาเป็นอปุกรณฺสำหรับงาน  หลังจากที่เราได้จ่ายเงินไปแล้ว  เราก็ได้สินทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์นั้นเอง  ไม่ทำให้หนี้สินหรือว่าส่วนของเจ้าของลดลงหรือว่าเพิ่มขึ้น  แต่เงินสดลดลงเหลือ 1,500,000

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด     +      อุปกรณ์    =                     ส่วนของเจ้าของ
1,500,000  +  500,000     =                    2,000,000

รายการที่ 3  ซื้อวัสดุสื้นเปลือง   50,000 บาท  จ่าเป็นเงินสดจำนวน  25,000  ส่วนที่เหลือค้างชำระ
สำหรับรายการนี้เป็นรายการที่กระทบต่อสินทรัพย์ที่เป็นวัสดุสิ้นเปลือง  หนี้สินที่ค้างไว้  และสินทรัพย์ประเภทเงินสดลดลง  เพราะว่าจ่ายเป็นเงินสดบางส่วนนั้นเอง 1,500,000 – 25,000 =   1,475,000    ทำให้มีการกระทบ 3 รายการ

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด     +    อุปกรณ์   +    วัสดุสิ้นเปลือง  = เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,475,000    +   500,000  +          50,000    =     25,000   +     2,000,000

รายการที่ 4  รับชำระค่าบริการล้างรถ  จากลูกทั้งหมด  5,000 บาท ลูดค้าได้จ่ายเป็นเงินสด
หลังจากที่ดำเนินกิจการไปก็ได้รับเป็นค่าบริการ  ในรายการนี้จะทำให้เงินสดซึ่งเป็นทินทรัพย์ของกิจการเพิ่มขึ้น  และทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  จึงนำ  1,475,000    + 5,000 ที่เป็นรายได้  และทำการ  บวกส่วนของเจ้าของ

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด     +    อุปกรณ์   +    วัสดุสิ้นเปลือง  = เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,475,000(+5,000)    +   500,000  +    50,000    =     25,000   +     2,000,000(+5,000)

1,480,000   +   500,000  +    50,000    =     25,000   +     2,005,000

รายการที่ 5 มีลูกค้ามาใช้บริการล้างรถ  แต่ลืมเอากระเป๋าตังค์มา  และเป็นคนรู้จัก  จึงให่ติดหนี้ไว้ก่อน  จำนวนเงิน 1,000 บาท
จากรายการดังกล่าว  มีลุกค้ามาใช้บริการแต่ไม่ได้ชำระเป็นเงินสด  จึงทำให้มีลูกหนี้ทางการค้าเกิดขึ้น หากราจะวิเคราะห์ทางบัญชีแล้วจะได้  ลูกหนี้เพิ่ม  และได้ส่วนของเจ้าของเพิ่มเพราะว่ามีรายได้เกิดขึ้นนั้นเอง 2,005,000 + 1,000

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด    +  ลูกหนี้  +  อุปกรณ์   + วัสดุสิ้นเปลือง = เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,480,000 +  1,000  +   500,000  +    50,000    =     25,000   +     2,006,000

รายการที่ 6 ชำระหนี้จากที่ได้ซื้ออุปกรณ์ทางการคทั้งหมด 25,000 บาท
รายการที่ 6 นี้เป็นรายการที่ได้จ่ายชำระนี้จากรายการที่  2 ดังนั้นหากจะวิเคราะห์รายการบัญชีแล้ว จะทำให้สืนทรัพย์ของเงินสดลดลงเพราะว่าต้องนำเงินไปให้เจ้าหนี้ด้วย  ทางหนี้สินของกิจการก็หมดไป  1,480,000 – 25,000 = 1,455,000

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ

เงินสด    +  ลูกหนี้  +  อุปกรณ์   + วัสดุสิ้นเปลือง = เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,455,000    +   1,000    +   500,000  +    50,000    =     0   +     2,006,000

รายการที่ 7 จ่ายชำระค่าใช้จ่าย  ค่าไฟ 500 บาท  ค่าน้ำ 200 บาท  ค่าเช่าอุปกรณ์  400 บาท
รายการทั้งหมดนั้นเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ  เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายจึงทำให้เงินในสินทรัพย์ลดลง  และทำให้ส่วนของเจ้าของลดลงด้วย  รวมค่าใช้จ่าย  (500 + 200 + 400) เท่ากับ 1,100 บาท  เงินสดลงลง  1,455,000 – 1,100 = 1,453,900    ส่วนของเจ้าของลดลง   2,006,000 – 1,100 = 2,004,900

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด    +  ลูกหนี้  +  อุปกรณ์   + วัสดุสิ้นเปลือง = เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,453,900    +   1,000    +   500,000  +    50,000    =     0   +     2,004,900

รายการที่ 8  นายสมชายได้มีการถอดใช้ส่วนตัว 1,000 บาท
สำหรับการถอนใช้ส่วนตัวนั้นเป็นการนำเงินออกมาจากจิการจึงทำให้  สินทรัพย์เงินสดลดลง  และทำให้ส่วนของเจ้าของลดลงด้วย  เหมือกับตอนที่เรานำเงินมาลง  ถ้าหากถอนออกไปก็จะกลับกัน  คือลดลงทั้งสอง

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด    +     ลูกหนี้  +    อุปกรณ์   +    วัสดุสิ้นเปลือง =   ส่วนของเจ้าของ
1,452,900    +   1,000    +   500,000  +    50,000    =     2,003,900

รายการที่ 9  นายสมชายได้ไปกู้เงินมาเพิ่มทุนจากธนาคาร เพิ่มขึ้นอีก  200,000 บาท
สำหรับการกู้เกินมาเพิ่มเติมนั้น  เหมือนเราเอาทุนมาเพิ่มเติมแต่เราได้เป็นหนี้  จึงต้องทำงให้เงินสดเราเพิ่มขึ้น  หนี้สินเราก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  เนื่องจากเราได้กู้มาทั้งหมดจึงไม่ทำให้ส่วนของเจ้าของนั้นเพิ่มขึ้น  เงินสดจึงเท่ากับ   1,454,000 + 200,000 = 1,654,000 และหนี้สินเพิ่ม 200,000 บาท

สินทรัพย์  =  หนี้สิน  +   ส่วนของเจ้าของ
เงินสด    +  ลูกหนี้  +  อุปกรณ์   + วัสดุสิ้นเปลือง =   เจ้านี้    +     ส่วนของเจ้าของ
1,652,900    +   1,000    +   500,000  +    50,000    =     200,000   +     2,003,900

จากรายการทั้งหมดสามารถที่จะการวิเคราะห์รายการค้าได้ตามที่ได้อธิบายมา  และแต่ละครั้งนั้นจะมีการกรัทบได้มากกว่า 1 บัญชี และทั้งสองจะต้องมียอดดุลกันเสมอ  และสามารถที่จะสรุปเป็นตารางได้เป็นดังนี้

 

สินทรัพย์

เจ้าหนี้

ส่วนของเจ้าของ

 

เงินสด

ลูกหนี้

อุปกรณ์

วัสดุสิ้นเปลือง

 

+ 2,000,000

รายการที่ 1

+ 2,000,000

         

รายการที่ 2

– 500,000

 

+ 500,000

     

รายการที่ 3

-25,000

   

+50,000

+25,000

 

รายการที่ 4

+5,000

       

+5,000

รายการที่ 5

 

+1,000

     

+1,000

รายการที่ 6

-25,000

     

-25,000

 

รายการที่ 7

– 1,100

       

– 1,100

รายการที่ 8

-1,000

       

-1,000

รายการที่ 9

+200,000

     

+200,000

 

รวม

1,652,900

1,000

500,000

50,000

200,000

2,003,900

 

2,203,900

200,000

2,003,900

หมายเหตุ : รายการดังกล่าวจะต้องดุลกันทั้งสองฝั่ง  ดังนั้นหากหายอดไม่สมดุล  เราควรตรวจสอบในการรายการมี่มีข้อผิดพลาด  อาจจะทำการ + – ผิด ในรายการที่ถูกกระทบให้รอบครอบ

ตัวอย่างงบกำไรขาดทุน/งบดุล
ร้านสมชาย  คาร์แคร์
งบกำไรขาดทุน
สำหรับเดือน ตุลาคม 2556
————————————————————————————————————————————————

รายได้จากบริการล้างอัดฉีด 6000
ค่าใช้จ่าย
ค่าไฟ 500
ค่าน้ำ   200
ค่าเช่าอุปกรณ์400
กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ  4,900

สมชายคาร์แคร์
งบดุล
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556

ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2556

สินทรัพย์

 

หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

 
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด
ลูกหนี้
วัสดุสิ้นเปลือง
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

 

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
อุปกรณ์

1,652,900
1,000
50,000

1,703,900

500,000

หนี้สิน
เจ้าหนี้

 

ส่วนของเจ้าของ
ทุนนาย – สมชาย             2,000,000
บวก กำไรสุทธิ                 4,900
หัก ถอนใช้ส่วนตัว             1,000

200,000

2,003,900

รวมสินทรัพย์ทั้งหมด

2,203,900

รวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของ

2,203,900

จากงบดูลแล้วอ่านฐานะทางการอขงกิจการล้างรถของนายสมชายได้ว่า  มีทรัพย์สินทั้งหมด  2,203,900  มีนี้สินอยู่  200,000  และส่วนของเจ้าที่มีทั้งหมด  2,003,900

Leave a Comment