แม่บทการบัญชี

ความหมาย
             แม่บทการบัญชี (Accounting Framework) หรือแม่บทการบัญชีสำหรับการจัดทำและนำเสนองบการเงิน(Framework for thePreparation and Preparation and Presentation of Financial Statemant)ไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานการบัญชีแต่เป็นกรอบหรือแนวคิดขั้นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินตลอดจนการกำหนดและนำเสนองบการเงินตลอดจนการกำหนดและนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติซึ่งผู้จัดทำและผู้ใช้งบการเงินจำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาในแม่บทการบัญชีก่อนที่จะสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีเฉพาะเรื่องได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี


แม่บทการบัญชีกำหนดขึ้นเพื่อว่างแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินที่เป็นบุคลภายนอกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีในพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคตและในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบัน
2. เป็นแนวทางสำหรับคระกรรมการมาตรฐานการบัญชีในการปรับข้อกำหนดมาตรฐานและการปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนองบการเงินให้สอดคล้องกันโดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการลดจำนวนทางเลือกของวิธีการจดบันทึกบัญชีที่เคยอนุญาติให้ใช้
3. เป็นแนวทางสำหรับผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการบัญชีมาปฏิบัติรวมทั้งเป็นแนวทางในการฟฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานของการบัญชีรองรับ
4. เป็นแนวทางสำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่
5. ช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลที่แสดงในงบการเงินซึ่งจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี
6. ให้ผู้สนใจได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชี

ผู้ใช้งบการเงินและความต้องการข้อมูล
ผู้ใช้งบการเงินสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะวัตถุประสงค์ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ประเภทเพื่อสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ลงทุนผู้เป็นเจ้าของเงินทุนรวมทังที่ปรึกษาซึ่งต้องการทราบถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนผู้ลงทุนต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ ขายหรือถือเงินลงทุนนั้นต่อไปนอกจากนั้นผู้ลงทุนที่เป็นผู้ถือหุ้นยังต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายเงินปันผลด้วย
2. ลูกจ้างลูกจ้างและกลุ่มตัวแทนซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงและความสามารถในการทำกำไรของนายจ้างเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประเมินความสามารถของกิจการในการจ่ายค่าตอบแทนบำเหน็จบำนาจรางวัลประโยชน์อื่นๆและโอกาสในการจ้างงาน
3. ผู้ให้กู้ผู้ที่ต้องการข้อมูลเพื่อใช้ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยมองว่าเงินที่ให้กู้ยืมและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจะได้ชำระเมื่อครบกำหนดหรือไม่
4. ผู้ขายสินค้าบริการและเจ้าหนี้อื่นผู้ซึ่งต้องการข้อมูลที่จะช่วยในการตัดสินใจว่าหนี้สินจะได้รับชำระเมื่อครบกำหนดเจ้าหนี้การค้าอาจให้ความสนใจข้อมูลของกิจการในระยะเวลาที่สั้นกว่าผู้ให้กู้นอกจากว่าการดำเนินงานของเจ้าหนี้นั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่
5. ลูกค้าผู้ซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการโดยเฉพาะกรณีที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานหรือต้องพึ่งพากิจการนั้น
6. รัฐบาลและหน่วยงานราชการต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของกิจการของกิจการในการจัดสรรพทรัพยากรการกำกับดูแลการพิจาณากำหนดนโยบายทาง๓ษีการจัดเก็บภาษีเงินได้และเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณรายได้ประชาชาติและจัดทำสถิติในด้านต่างๆ
7. สาธารณชนประชาชนทั่วไปซึ่งต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มความสำเร็จและการดำเนินงานของกิจการเนื่องจากกิจการอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณชนในการจ้างงานและการรับซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากผู้ผลิตในท้องถิ่น
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำและนำเสนองบการเงินของกิจการคือ ฝ่ายบริหารของกิจการดังนั้นฝ่ายบริหารของกิจการต้องให้ความสนใจต่อข้อมูลที่แสดงไว้ในงบการเงิน
แม้บทการบัญชีจึงจะเกี่ยวข้องกับงบการเงินและงบการเงินรวมที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์โดยทั่วไปซึ่งจะจัดทำนำเสนออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อนำข้อมูลให้กับผู้ใช้งบการเงินทุกประเภทด้วยงบดุลงบกำไรขากทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จงบการเงินอาจรวมข้อมูลหรือรายละเอียดประกอบเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งานงบการเงินเข้าใจงบการเงินมากขึ้น

ขอบเขตของแม่บทการบัญชี
1. วัตถุประสงค์ของงบการเงิน
2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินที่กำหนดว่าข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์
3. คำนิยามการรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน
4. แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

Leave a Comment