ประวัติความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชีเป็นภาษาทางธุรกิจซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษานี้เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามปกติในทุกๆ วันโดยศัพท์ทางบัญชีจะเป็นลักษณะเฉพาะมากขึ้นเมื่อใช้ในการบัญชีดังเช่นเราจะได้ยินคำศัพท์เช่นสินทรัพย์หนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้ค่าใช้จ่ายและกำไรขาดทุนเป็นต้นการบัญชีจึงเป็นกิจกรรมของการให้บริการซึ่งจะทำหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณที่เกียวข้องกับรายการทางเศรษฐกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ
การบันทึกข้อมูลทางการบัญชีได้ทำกันมานานแล้วไม่น้อยกว่า 5 พันปีโดยจากหลักฐานที่ปรากฏการจดบันทึกข้อมูลและการจดบันทึกข้อมูลบนแผ่นดินเหนียวมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจคือ

1.สมัยอียิปต์มีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆในท้องพระคลัง

2.สมัยบาปิโลน มีการบันทึกเกี่ยวกับเงินและทองคำที่ได้รับโดยมีการระบุวันที่รับชื่อผู้รับและชื่อผู้ให้

3.สมัยกรีกมีการพัฒนาปรับปรุงในเรื่องของข้อมูลในการรับและจ่ายประจำงวดตลอดจนการคำนวณหายอดคงเหลือต้นงวดปลายงวดเพื่อต้องการทราบจำนวนทรัพย์สินมากกว่าที่จะเน้นในเรื่องการคำนวณผลกำไร

4.สมัยโรมันมีการบันทึกทางการบัญชีเกขึ้นในลักษณะของการบันทึก 2 ด้านเหมือนกับหลักบัญชีคู่เพราะมีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นว่ารับมากจากใครและจ่ายให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่

                 พัฒนาการทางด้านบัญชีขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่การบัญชีแพร่หลายในยุโรปสมัยกลางของประวัติศาสตร์ก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของระบบขุนนางหรือศักดินาในขณะนั้นในสมัยต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจเป็นระบบคฤหาสน์การบัญชีจำเป็นต้องขยายตัวให้เยงพอกับความต้องการและความจำเป็นของระบบนั้นด้วยระบบบัญชีคู่เริ่มเกิดขึ้นในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็เป็นผลเนื่องมาจากขยายตัวทางด้านการหัตถกรรมและพานิชยกรรมความต้องการให้มีการบันทึกการจัดหมวดหมู่รายการตลอดจนการเสนอผลสรุปของการค้าที่ขยายตัวขึ้นทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบัญชีให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เป็นมาแต่ก่อน

                   การบัญชีในประเทศไทยเริ่มมีตั้งแต่สมัยอยุธยาในช่วงปีพ.ศ. 2193 – 2231 ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยนี้ประเทศไทยได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศยุโรปคืออังกฤษฝรั่งเศสและโปรตุเกสเป็นต้นบัญชีที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นบัญชีแรกคือบัญชีเงินสดและได้ถือปฎิบัติมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มจัดทำบัญชีเงินพระคลังเป็นหมวดหมู่และวิชาการบัญชีก็ได้เริ่มมีการศึกษากันเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นกันกล่าวคือในปีพ.ศ. 2482พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดกล้าให้บรรจุเรื่องการบัญชีเป็นสาขาหนึ่งใน 8 อย่างของชั้นประโยค 2 ซึ่งเป็นชั้นเรียนสูงสุดของการเรียนสมัยนั้นแต่เป็นเพียงการทำบัญชีเกี่ยวกับการเงินเท่านั้นยังไม่ใช่หลักการบัญชีคู่ที่แท้จริงต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยราชกาลที่ 6 พระองค์ทรงโปรดคัดเลือกบุตรข้าราชการส่งไปเรียนด้านพาณิชย์และบัญชีที่ประเทศอังกฤษด้วยเหตุกาณ์ข้างตันนี้ทำให้การบัญชีของไทยสมัยนั้นเป็นแบบอังกฤษนอกจากนั้นยังโปรดให้ตั้งโรงเรียนพาณิชยการขึ้น 2 แห่งคือโรงเรียนพาณิชยการวัดสามพระยาและโรงเรียนพาณิชยการวัดแก้วฟ้าโดยมีการสอนบัญชีคู่เป็นครั้งแรกในโรงเรียนดังกล่าวและมีบัญชีเพียง 3 เล่นคือสมุดบัญชีเงินสดสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทในปี พ.ศ.2481ได้จัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลได้ออกกฎหมายพระราชบัญญัติบัญชีขึ้นซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลัด 3 ประการคือ

1.เพื่อให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจต่างๆมีแนวทางแบบเดียวกัน.

2.เพื่อคุ้มครองประโยชน์และส่วนได้ส่วนเสียของผู้เกี่ยวข้อง

3.เพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็ยภาษี

Leave a Comment