การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

ในระบบเศรษฐกิจนั้นมีความการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันในเรื่องของผู้ที่มีอำนาจในการจัดการ  และเป็นเจ้าของทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต  จึงทำให้การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันดังนี้
1. การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เนื่องจากระบบเศรษฐกิจนี้ส่วนใหญ่เอกชนมีเสรีภาพและกรรมสิทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยากร  โดยอาศัยระบบตลาดหรือกลไกของราคาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ปัญหาที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจ  โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1.1 การตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร  เป็นบทบาทหน้าที่ของเอกชนหรือหน่วยธุรกิจที่จะตัดสินใจผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดๆ  ที่ทำให้เขาได้กำไรสูงสุด  ซึ่งอาศัยกลไกของตลาดที่ประกอบด้วยผู้บริโภค  พร้อมทั้งคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตและสักยภาพของผู้ผลิตในการผลิตสินค้านั้น  สิ่งที่ชี้บอกให้หน่วยธุรกิจตัดสินใจได้ก็คือ  ราคาสินค้า  เพราะว่าราคาเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณความต้องการของผู้บริโภคว่าต้องการสินค้านั้นมากน้อยเพียงใด  ขณะเดียวกันเป็นตัวชี้ขอกให้ผู้ผลิตตัดสินใจได้ว่าควรผลิตมากน้อยเพียงใด  โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตเปรียบเทียบกับราคาเพื่อประกอบในการตัดสินใจได้ว่าควรผลิตสินค้าใด  มากน้อยเพียงใด  จึงจะทำให้ตนเองได้กำไร
1.2 การตัดสินใจว่าจะผลิตอย่างไร  หมายถึง  หน่วยธุรกิจจะเลือกวิธีการผลิตซึ่งเกี่ยวข้องกับกาสรเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่นๆ  นั้นคือ  วิธีการผลิตที่เสียต้นทุนการผลิตต่ำสุดโดยใช้ผลิตตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ  และสิ่งที่กำหนดต้นทุนคือ  ราคาปัจจัยการผลิต  ดังนั้นราคาจึงมีบทบาทสำคัญที่ผู้ผลิตนำไปใช้ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ปัจจัยการผลิต  ดังนั้นผู้ผลิตย่อมจะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูกเท่าที่จะทำให้โดยที่ทำให้ได้ผลผลิตตามต้องการ  วิธีการใช้ปัจจัยการผลิตบ่งออกเป็นสองวิธีที่สำคัญคือ  การใช้ปัจจัยการผลิตทุนในสัดส่วนที่มากกว่าแรงงาน  และการใช้ปัจจัยการผลิตแรงงานในสัดส่วนที่มากกว่าทุน
ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาค่าจ้างแรงงานจึงไม่สูง  และไม่สามารถผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์หรือสินค้าทันได้เอง  ซึ่งต้องซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง  จึงควรเลือกผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานมากว่าปัจจัยการผลิตทุน  เพราะจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่ำ  นอกจากนั้นคนไทยยังเป็นผู้ที่มีความถนัดในการผลิตงานที่มีฝีมือ  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพยายามเลือกการผลิตสินค้าในวิธีการดังกล่าว
1.3 การตัดสินใจว่าจะผลิตเพื่อใคร  หมายถึง  สินค้าที่ผลิตขึ้นมาในสังคมควรจะกระจายไปสู่ผู้ใดบ้างในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่อาศัยราคาเป็นเครื่องตัดสินใจ  ผู้ที่จะได้บริโภคสินค้าคือ  คนที่มีอำนาจซื้อหรือรายได้นั้นเอง  เพราะว่าเอกชนหรือหน่วยธุรกิจย่อมตัดสินใจให้แก่ผู้ที่นำเงินพอที่จ่ายในราคาที่ผู้ผลิตขายหรือได้กำไร
2. การแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม  ระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลหรือว่ากรรมการกลางจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกใช้ทรัพยากร  ในประเด็นจะเลือกผลิตอะไร  เป็นจำนวนเท่าไหร่   จะผลิตโดยใช้วิธีการใด  และผลิตเพื่อใคร  ซึ่งตามหลักการแล้วรัฐบาลจะต้องกระทำไปโดยใช้อำนาจสั่งกานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่  อย่างก็ตามการกระทำนี้จะประสบผลสำเร็จดังกล่าวได้ต้องขึ้นอยู่กับการมีข้อมูลที่สมบูรณ์  ถูกต้องและรัฐบาลต้องเป็นกลุ่มที่มีคุณธรรมจริยธรรม  และความรู้ความสามารถในการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ

Leave a Comment