การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์

แนวทางของการศึกษาทางเศษรฐศาสตร์นั้นสามารถที่จะแบ่งแนวทางได้ 2 แนวทางใหญ่  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์  ซึ่งมีความจำเป็นมากเพราะว่ามีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา  โดยที่เราจำเป็นที่จะใช้จ่ายในการต้องการสินค้าและบริการเราต้องการทราวความพอใจที่ราคาต่ำสุด  หลักการดังการเป็นการใช้กลัดของทางเศรษฐศาสตณืในการเข้าช่วยในการตัดสินใจ  รายได้ที่ได้รับมาเท่านั้นเท่านี้ทำอย่างไรจึงจะพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน  รวมไปถึงการอยู่การกินทั่วๆไป
การศึกษาจึงสามารถที่จะทำได้ปหลากหลายอาจจะระบุตามตรงให้ได้เลยนั้นไม่สามารถที่จะทำได้  สามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม  ลักษณะพฤติกรรมของคนและปัจจัยอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งมีความแตกต่างไปจากวิทยาศสตร์ที่สามารถทดลองออกมาได้อย่างเที่ยงตรง  ทางนักเศรษฐศาสตร์เองนั้นจึงได้หาแนวทางในการศึกษาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  โดยหลักใช้ทางคือ  วิธีอนุมาน  และวิธีอุปมาน  ในการสร้างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ขึ้น
วิธีอนุมาน  เป็นการทฤษฎีโดยการเริ่มต้นจากการสร้างข้อเท็จจริงและหากลัดเหตุผลจนสามารถที่จะสรุปมาได้  โดยเริ่มจากการศึกษาการใช้เหตุผลพิจารณาเรื่องราวที่จะต้องศึกษา  และตั้งสมมติฐาน ขึ้นมาก่อน  จากนั้นจึงพิจาณาหลักฐาน  หรือข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบเพื่อนำไปสรุปสมมติฐาน  และตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎี  วิธีการอนุมานเป็นการศึกษากาข้อมูล  ข้อเท็จจริงมาช่วยเสริมกฎหรือทฤษฎีในภายหลังการสร้างกฎหรือทฤษฎีในทางเศรษฐศาสตร์โดยวิธีการอนุมานนี้มีขั้นตอนด้วยกันอยู่ 3 ขั้นตอนกล่าวคือ

1. การตั้งสมมติฐาน  เช่นในเรื่องของการกำหนดรายได้ประเทศ  ก็อาจจะตั้งสมมติฐานในระบบเศรษฐกิจ  ก่อนการวิเคราะห์และหลังไปตามสมมติฐานนั้นๆ  ดังนั้นประเด็นทฤษฎีจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ  นำไปพยากรณ์เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจได้ดีแค่ไหน  จึงขั้นอยู่กับสมมติฐานที่กำหนดมีความสอดคล้องกับปัญหามากน้อยแค่ไหน  และสมมติฐานที่กำหนดขึ้นมีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงมากน้อยแค่ไหนอีกประการหนึ่ง
2. การวิเคราะห์โดยกระบวนการของเหตุผลและการให้คำอธิบายเบื้องต้น  เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของตัวแปร  และอธิบายลักษณะความสัมพันธ์นั้นๆ  โดยใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์?
3. การทดสอบหาข้อสรุป  เมื่อผลการทดสอบออกมาสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริง  ก็เป็นข้อสรุปที่สามารถตั้งเป็นทฤษฎีได้  แต่หากผลที่ได้ไม่สอดคล้องหรือไม่สามารถอธิบายได้  ก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่
วิธีอุปมาน  เป็นวิธีการศึกษาเหตุจากการศึกษาที่ตรงข้ามกับวิธีอนุมาน  กล่าวคือ  ก่อนที่จะตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีขั้นมาจะต้องรวบรวมข้อมูล  ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นระบบเสียก่อน  แล้วจึงนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หรือประมวลผลเพื่อที่จะสรุปเป็นขั้นตอนต่อไป  หรือกล่าวได้ว่าการศึกษาโดยวิธีอุปมานดังกล่าวเป็นการสรุปจากความจริงในส่วนย่อยหรือเป็นการสืบหาข้อเท็จจริงเสียก่อนแล้วจึงตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีขึ้นมา  สามารถที่จะแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอนต่อไปนี้
– เก็บรวบรวมข้อมูล  หรือข้อเท็จจริงในเรื่องที่เราจะศึกษา
– การหาข้อสรุปจากข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ  โดยการวิเคราะห์หรือประมวลผล  โดยใช้วิธีการทางสถิติ  คณิตศาสตร์  หรือเศรษฐมิติ  แล้วจึงสรุปเป็นกฎหรือทฤษฎี
– การทดสอบความถูกต้องของกฎหรือทฤษฎี  โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับการทดสอบในวิธีอนุมาน
สำหรับการสร้างกฎหรือว่าทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุดซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ  หรือว่าในบางครั้งอาจจะต้องทั้งสองวิธีร่วมกันก็ได้

Leave a Comment